phalangsattha

รับจัดงานทำบุญบ้าน ทำบุญบริษัท

แบบประหยัด เรียบง่าย รูปแบบงานสวยงาม

พลังศรัทธา ออแกไนซ์รับจัดงานทำบุญบ้านใหม่ เชียงใหม่และพื้นที่ใกล้เคียง

ขึ้นบ้านใหม่ เปิดร้านใหม่ ทำบุญบริษัท ทำบุญประจำปี เลือกใช้บริการพลังศรัทธา เตรียมให้ครบทุกอย่าง ดูแลตั้งแต่ต้นจนจบ งานสวยงาม คุ้มค่า ด้วยแพคเกจทำบุญบ้านแบบประหยัด ถูกต้องตามหลักศาสนา ขนบธรรมเนียมประเพณีไทยและหลักตำราล้านนา มีความเชี่ยวชาญในด้านพิธีกรรม การันตีด้วยประสบการณ์อันยาวนาน พร้อมอำนวยความสะดวกสบายให้เจ้าภาพ ไม่ต้องกังวล ไม่ต้องเหนื่อยอีกต่อไป

ดูโปรโมชั่น

ทำบุญขึ้นบ้านใหม่ คืออะไร

ทำบุญขึ้นบ้านใหม่ คือ พิธีกรรมที่คนไทยสืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยโบราณ มีความเชื่อว่าการทำบุญขึ้นบ้านใหม่นั้น ถือว่าเป็นการทำบุญใหญ่ นิมนต์พระมาให้พร สวดมนต์และถวายเพล เพื่อให้การเข้าอยู่บ้านหลังใหม่หรือย้ายที่อยู่ใหม่ เป็นไปอย่างราบรื่น เสริมสิริมงคลให้แก่ผู้อยู่อาศัย ปัดเป่าสิ่งชั่วร้ายสิ่งที่ไม่ดีออกจากบ้าน และมักจะเชิญญาติ พี่น้อง คนในครอบครัวทำบุญกุศลร่วมกัน

 

อ่านเพิ่มเติม

ประมวลภาพผลงานรับจัดงานทำบุญบ้าน

รีวิวเพิ่มเติม

แพคเกจรับจัดงานทำบุญบ้าน

รายละเอียด

แพคเกจทำบุญบ้าน

ดูฤกษ์ทำบุญบ้าน

นิมนต์พระ พร้อมบริการรับ-ส่ง

พระ 5 รูปและผู้ดำเนินพิธีการ

ชุดโต๊ะหมู่บูชาและพระประธาน

อุปกรณ์ตกแต่งโต๊ะหมู่บูชา

เครื่องใช้และอุปกรณ์พิธีสงฆ์

ชุดกรวดน้ำ

ดอกไม้ ธูปเทียน สายสิญจน์

พรมปูนั่งสำหรับพระ

ชุดสังฆทาน

เครื่องสังเวยท้าวทั้งสี่ พร้อมทำพิธี

เครื่องสืบชะตาล้านนา สะเดาะเคราะห์

ราคาแพคเกจ

แพคเกจแบบประหยัด

(Sliver)

แพคเกจแบบล้านนา

(Gold)

แพคเกจแบบล้านนา

(Diamond)

บริการเพิ่มเติมจากแพคเกจพิธีกรรม

อาหารบุฟเฟ่ต์

เริ่มต้นที่ 20 ท่าน

อาหารถวายพระ

มีให้เลือกตามความสะดวกของลูกค้า

เช่าอุปกรณ์

พร้อมบริการติดตั้งและรื้อถอน

แพคเกจรับจัดงานทำบุญบ้าน

แพคเกจแบบประหยัด

(Sliver)

ดูฤกษ์ทำบุญบ้าน

นิมนต์พระภิกษุสงฆ์ พร้อมบริการรับ-ส่ง

พระสงฆ์ 5 รูปและผู้ดำเนินพิธีการ

ชุดโต๊ะหมู่บูชาและพระประธาน

อุปกรณ์ตกแต่งโต๊ะหมู่บูชา

เครื่องใช้และอุปกรณ์พิธีสงฆ์

ชุดกรวดน้ำ

ดอกไม้ ธูปเทียน สายสิญจน์

พรมปูนั่งสำหรับพระ

ชุดสังฆทาน

แบบไทย

8,900.-

แพคเกจทำบุญบ้าน

(Gold)

ดูฤกษ์ทำบุญบ้าน

นิมนต์พระภิกษุสงฆ์ พร้อมบริการรับ-ส่ง

พระสงฆ์ 5 รูปและผู้ดำเนินพิธีการ

ชุดโต๊ะหมู่บูชาและพระประธาน

อุปกรณ์ตกแต่งโต๊ะหมู่บูชา

เครื่องใช้และอุปกรณ์พิธีสงฆ์

ชุดกรวดน้ำ

ดอกไม้ ธูปเทียน สายสิญจน์

พรมปูนั่งสำหรับพระ

ชุดสังฆทาน

เครื่องสังเวยท้าวทั้งสี่ พร้อมทำพิธี

แบบล้านนา

10,900.-

แพคเกจทำบุญบ้าน

(Dimond)

ดูฤกษ์ทำบุญบ้าน

นิมนต์พระภิกษุสงฆ์ พร้อมบริการรับ-ส่ง

พระสงฆ์ 5 รูปและผู้ดำเนินพิธีการ

ชุดโต๊ะหมู่บูชาและพระประธาน

อุปกรณ์ตกแต่งโต๊ะหมู่บูชา

เครื่องใช้และอุปกรณ์พิธีสงฆ์

ชุดกรวดน้ำ

ดอกไม้ ธูปเทียน สายสิญจน์

พรมปูนั่งสำหรับพระ

ชุดสังฆทาน

เครื่องสังเวยท้าวทั้งสี่ พร้อมทำพิธี

เครื่องสืบชะตาล้านนา สะเดาะเคราะห์

แบบล้านนาพร้อมสืบชะตา

13,900.-

แพคเกจยอดนิยม

คลิกเลย

ตารางเปรียบเทียบแพคเกจ

บริการเพิ่มเติมจากแพคเกจพิธีกรรม

อาหารบุฟเฟ่ต์

พร้อมเครื่องดื่ม

อาหารถวายพระ

มีให้เลือกตามความสะดวกของลูกค้า

เช่าอุปกรณ์

พร้อมบริการติดตั้งและรื้อถอน

เหตุผลที่ต้องเลือกพลังศรัทธา

ความประทับใจจากลูกค้า

พ่อกับแม่ แขกในงานชมไม่ขาดปากว่าสวย  ซึ่งพิธีทำบุญขึ้นบ้านใหม่ การสืบชะตาถือว่าเป็นจุดสำคัญของงาน ใช้เวลาจัดเตรียมนาน และยุ่งยากสำหรับคนยุคใหม่นี้ ทางทีมงานช่วยให้ประหยัดเวลาไปได้มาก อุปกรณ์พิธีตามทางล้านนาครบถ้วน จัดงานครั้งเดียวก็อยากมีภาพสวยๆ ไม่ต้องมีเรื่องให้คิดหรือกังวลอะไรเกี่ยวกับพิธี ไม่ผิดหวังจริงๆค่ะ

คุณพรพิมล

ขอขอบคุณทีมงานคุณภาพที่จัดเตรียมพิธีได้เป็นอย่างดี ครบถ้วนตามแบบพิธีล้านนา ไม่ต้องเตรียมอะไรเองเลย ทีมงานจัดให้ทั้งหมด สะดวกและง่ายสำหรับคนที่กำลังวางแผนทำบุญบ้านมากๆค่า

คุณธนาภรณ์

ช้บริการที่นี้เป็นครั้งที่ 2 เเล้วครับ ครั้งเเรกทำพิธีลงเสาเอก ครั้งนี้เลยกลับมาใช้บริการอีกครั้งประทับใจมากกว่าเดิม การจัดงานทำบุญขึ้นบ้านใหม่แบบล้านนาพร้อมพิธีสืบชะตา จัดงานได้ดีมาก งานสวย ใส่ใจรายละเอียด พนักงานสุภาพเรียบร้อย แอดมินก็ให้คำปรึกษาดีมาก ออกแบบงานให้ตามงบประมาณเลยครับ คิดถูกที่เลือกที่นี้ไม่ผิดหวังจริงๆ ครับ

คุณณัฐพล

รีวิวทั้งหมด

ทำบุญขึ้นบ้านใหม่แบบล้านนา (ขึ้นเฮือนใหม่)

การทำบุญขึ้นบ้านใหม่ คนล้านนาจะหรือว่าประเพณีขึ้นเฮือนใหม่ เมื่อการสร้างบ้านเรือนสำเร็จลุล่วงแล้ว ก็จะมีการทำพิธีเพื่อเป็นการเริ่มต้นไปอยู่ในบ้านหลังใหม่ โดยจะเริ่มจากการหาฤกษ์งามยามดีที่เหมาะสมแก่การขึ้นบ้านใหม่ในช่วงเวลานั้น ๆ ชาวล้านนาให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มาก เพราะเป็นพิธีกรรมใหญ่และเป็นสิริมงคล ขั้นตอนต่าง ๆ ในพิธีกรรมจึงมีความละเอียดซับซ้อน

 

ซึ่งคำว่า “เฮือน” แปลว่า บ้านที่อยู่อาศัย

 

ตามคตินิยมล้านนา ส่วนใหญ่ฤกษ์จะเป็นช่วงเดือนคู่ เช่น เดือนยี่ เดือนสี่ เดือนหก เป็นต้น แต่เดือนที่นิยมกันทำพิธีมากที่สุด ก็คือเดือน 12 หรือช่วงเดือนตุลาคมของปฏิทินไทยกลาง หากเป็นเดือนคี่ก็มักจะนิยมทำในวันพญาวัน หรือวันเถลิงศก (ช่วงประเพณีสงกรานต์ในปฏิทินไทย) ควรหลีกเลี่ยงวันเสีย และควรดูฤกษ์ช่วงเวลาของแต่ละวันให้เหมาะสม ดูตารางเทียบเดือน ระหว่างภาคกลางและภาคเหนือ

วันเสียตามปฏิทินล้านนา

เดือน เกี๋ยง ห้า เก้า

เสียวันอาทิตย์ กับวันจันทร์ (ระวิ จันทัง)

เสียวันอังคาร (อังคารัง)

เสียวันเสาร์กับวันพฤหัสบดี (โสรีคุรุ)

เสียวันศุกร์และวันพุธ (สุกโขพุธา)

สืบชะตาทำบุญบ้าน

เมื่อได้ฤกษ์มงคลที่เหมาะสมแล้ว คนล้านนาก็จะช่วยกันทำการดาครัว หรือการเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อใช้ในการประกอบพิธีนั่นเอง สมัยก่อนเจ้าของบ้านจะต้องวางแผนเตรียมของต่าง ๆ เพื่อให้เพียงพอกับการเลี้ยงแขกในงานเป็นจำนวนมาก เช่น การเตรียมฟื้น เตรียมอาหาร ยกตัวอย่างเช่น การสะสมฟักเขียว (บ่าฟักหม่น) เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบหลักในการประกอบอาหาร ส่วนกลุ่มเครื่องดื่มเมื่อก่อนคนล้านนาจะนิยมใช้น้ำต้น หรือคนโท (ตำนานความเชื่อของน้ำต้น) ใช้เป็นภาชนะใส่น้ำดื่ม รวมถึงถ้วย จาน ชาม กระโถน เสื่อ หมอน ต่าง ๆ

 

วันแต่งดา หรือวันสุกดิบเป็นวันแห่งการจัดเตรียมอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการประกอบพิธี ชาวบ้านมักจะมาช่วยเจ้าของบ้าน เช่น การจัดหมากจัดเมี่ยง มวนบุหรี่ จัดดอก จัดอุปกรณ์พิธีสงฆ์ เตรียมเครื่องสืบชะตา สะตวง และอาหารเครื่องดื่มต่าง ๆ เป็นต้น
ในระหว่างที่ช่วยกันจัดเตรียมของก็จะมีการอ่าน “เล่าค่าว” ถือว่าเป็นการสันทนาการบันเทิง มักจะนิยมเล่าเรื่องชาดก เช่น อ้ายร้อยขอด, หงส์หิน, วัณณพราหมณ์ ฯลฯ

ขั้นตอนการทำบุญบ้านแบบล้านนา

ทำบุญบ้านแบบประหยัด

ตามความเชื่อของชาวล้านนาก่อนจะทำพิธีขึ้นบ้านใหม่ต้องทำพิธีขึ้นท้าวทั้งสี่ก่อน ทำก่อนเริ่มพิธีทำบุญระยะเวลาที่สมควร กรณีทำบุญช่วงเช้าตรู่มี ก็จะทำพิธีในตอนเย็นของวันก่อนหน้า ยกตัวอย่างเช่น สมมติว่าจะจัดงานวันพรุ่งนี้ ก็ให้ขึ้นท้าวทั้งสี่ของตอนเย็นวันนี้ไว้ล่วงหน้าครับ ถ้าหากงานเริ่มตอนสายหรือตอนกลางวัน ก็ทำในช่วงเช้าของวันนั้นได้ เพื่อเป็นสิริมงคล อำนวยความสุขความเจริญ และช่วยป้องกันภัยจากอันตรายต่าง ๆ ซึ่งการขึ้นท้าวทั้งสี่นั้น คือ พิธีบูชามหาเทพทั้ง 4 ประกอบด้วย

 

                 องค์ที่ 1   ท้าวเวสสุวัณณะ      ผู้ดูแลรักษาโลกทิศเหนือ เป็นหัวหน้าของยักษ์เเละเป็นหัวหน้าของบรรดามหาเทพกลุ่มนี้ 

                องค์ที่ 2   ท้าวธตรัฎฐะ           ผู้ดูแลรักษาโลกทิศตะวันออก เป็นหัวหน้าของพวกคันธัพพะ

                องค์ที่ 3   ท้าววิรุฬหกะ           ผู้ดูแลรักษาโลกทิศใต้ เป็นหัวหน้าของพวกกุมภัณฑ์

                องค์ที่ 4   ท้าววิรุปักขะ           ผู้รักษาโลกทิศตะวันตก เป็นหัวหน้าของพวกนาค

 

ซึ่งมหาเทพทั้งสี่ นับถือบูชาพระอินทร์ เเละจะต้องเข้าเฝ้าพระอินทร์ในสุธัมมสภาคศาลา ส่วนแม่นางธรณีนั้น ถือเป็นสักขีพยาน รู้ถึงการกรวดน้ำทำบุญของมนุษย์

สะตวง

หรือ กระบะกาบกล้วยบรรจุเครื่องสังเวย 6 ชุด ที่ต้องใช้ในการทำพิธีขึ้นท้าวทั้งสี่ ได้แก่

  1. แท่นวางเครื่องสังเวย รียกว่า ประสาท
  2. สะตวง (กระบะกาบกล้วย) ขนาดความกว้างประมาณ 1 คืบ จำนวน 6 อัน ขนาดประมาณ 1 ศอก จำนวน 1 อัน แต่ละสะตวงให้บรรจุเครื่องสังเวย อย่างละ 4 ทุกสะตวง เครื่องสังเวย เช่น ดอกไม้ ธูปเทียน อาหาร หมาก เมี่ยง พลู บุหรี่ เป็นต้น
  3. ช่อ เป็นธงสามเหลี่ยมขนาดเล็ก นิยมนำกระดาษมาตัดเป็นรูปทรงสามเหลี่ยม อย่างละ 4 แล้วนำมาปักที่สะตวง ประกอบด้วย สีเขียว สีเหลือง สีขาว สีดำ สีแดง
  4. ฉัตร เป็นร่มเล็ก ๆ สำหรับบูชาเฉพาะพระอินทร์ที่วางบนแท่นปราสาทสูงสุด
  5. น้ำส้มป่อย ชาวล้านนาใช้ฝักแห้งในพิธีกรรมชำระสิ่งอัปมงคล
สะตวง มีกี่ประเภท ?

จากนั้นนำสะตวงที่เตรียมไว้ไปวางบนแท่นปราสาทที่ได้จัดทำขึ้นมา โดยจะวางตามตำแหน่งดังนี้


  1. ตำแหน่งบนสุดยอดเสาปลายไม้สำหรับบูชาพระอินทร์ จะวางกระบะที่มีฉัตร
  2. วางสะตวงตรงทิศต่าง ๆ ตามมหาเทพทั้งสี่ทิศ ทิศเหนือ ทิศใต้ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก
  3. วางสะตวงที่โคนเสาแท่นวางอีก 1 สะตวง เพื่อบูชาแก่แม่ธรณี

เมื่อทำพิธีขึ้นท้าวทั้งสี่เรียบร้อยแล้ว เจ้าของบ้านจะนำองค์พระพุทธรูป, หีบสมบัติมีค่า, หม้อไหนึ่งข้าวใบใหม่แทนปู่ดำย่าดำ, หาบข้าวเปลือกและข้าวสาร, ที่นอนหมอนมุ้ง โดยให้รวบรวมกันอยู่บริเวณหน้าบันไดทางขึ้นบ้าน เพื่อจะนำสิ่งของเหล่านี้ร่วมขบวนการเดินขึ้นบ้านหลังใหม่ ซึ่งบุคคลที่จะนำของมงคลขึ้นไปบนเฮือนต้องมีชื่อที่มีความหมายอันดีงาม เช่น แก้ว คำ เงิน ทอง ดี เป็นต้น นอกจากนี้บางความเชื่อก็จะมีของมงคลสำคัญ ขั้นตอนสำคัญที่จะนำขึ้นบ้านด้วย จะแบ่งตามวันที่ทำพิธีดังนี้

  • วันอาทิตย์ ให้รับประทานอาหารแล้วขึ้น และให้คนชื่อแก้วหรือคำเป็นคนเดินเข้าบ้านก่อน
  • วันจันทร์ ให้นำของหอม เช่น พานดอกไม้ขึ้นก่อน
  • วันอังคาร ให้เอาน้ำใส่ในภาชนะขึ้นก่อน
  • วันพุธ ให้เอาเมล็ดพันธุ์ของข้าวขึ้นก่อน
  • วันพฤหัสบดี ให้เอาหนังสือหรือไม้ขึ้นก่อน
  • วันศุกร์ ให้เอาของสีขาว เช่น ดอกไม้สีขาว ข้าวสารขึ้นก่อน
  • และวันเสาร์ ให้นำขวาน ก้อนหินขึ้นก่อน

ซึ่งจะนำด้วยผู้ถือพานพระพุทธรูป และตามด้วยเครื่องใช้ที่ได้เตรียมไว้ตามลำดับ แล้วจึงเริ่มทำพิธีลำดับแรกเริ่มด้วยการรับศีลเวนทาน การสวดมนต์ให้พร ทำพิธีสืบชะตาแบบล้านนา เพื่อสะเดาะเคราะห์ ต่ออายุ เพื่อเป็นบุญใหญ่เสริมสิริมงคลให้แก่บ้านใหม่และเจ้าของบ้าน พรมน้ำพระพุทธมนต์ และเทศน์ 1 กัณฑ์

โดยส่วนมากจะเลือกเอาธรรมจากเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่น ชัยน้อย สังคหโลก ชัยสังคหะเคหาภิเสก มังคละสูตร มังคละตันติง โลกวุฑฒิ สารากริกวิชชานสูตร อรินทุม อุณหัสสวิชัย เป็นต้น แล้วต่อด้วยการถวายเพล ถวายเครื่องไทยทานต่อ เมื่อพระสงฆ์กล่าวอนุโมทนาถือว่าเป็นการเสร็จพิธีกรรม

 

พิธีสืบชะตา มีความสำคัญอย่างไร : อ่านต่อคลิกเลย

ทำบุญขึ้นบ้านใหม่แบบไทย

การทำบุญขึ้นบ้านใหม่แบบไทย มีความเชื่อและปฏิบัติกันมาอย่างยาวนาน โดยจะเน้นตามหลักของศาสนาพุทธ ซึ่งก่อนจะย้ายเข้าที่อยู่ใหม่ สร้างบ้านที่อยู่อาศัยเสร็จจะต้องทำบุญบ้านก่อนเสมอ เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ผู้อยู่อาศัย สบายกายสบายใจ มีความสุขเจริญก้าวหน้า รักใคร่ปรองดองกันไม่ทะเลาะวิวาท ขับไล่สิ่งไม่ดีออกไป และป้องกันภัยอันตรายต่าง ๆ

มักจะนิยมนิมนต์พระสงฆ์มาประกอบพิธีกรรมทางศาสนา สวดมนต์ให้พร พรมน้ำพระพุทธมนต์ และทำบุญถวายเพลเลี้ยงพระ และเชิญชวนญาติพี่น้อง บุคคลที่เคารพนับถือมาร่วมทำบุญและรับประทานอาหารร่วมกัน

เคล็ดลับเสริมสิริมงคลแบบไทยโบราณ จะมีการเตรียมพระพุทธรูป, พืชพรรณธัญญาหารต่าง ๆ เช่น ถั่ว งา ข้าว, ถุงเงินถุงทอง, กลีบดอกไม้มงคล เช่น กลีบดอกกุหลาบ กลีบดอกดาวเรือง, เครื่องครัว, เงินเหรียญธนบัตรจำนวน 108 บาทและ 1,900 บาท ตามลำดับ นำเข้าบ้านใหม่ด้วย

รู้จักพลังศรัทธา

ขั้นตอนการทำบุญบ้านแบบไทย

1. หาฤกษ์มงคล

การหาฤกษ์มงคล เพื่อใช้ในการประกอบพิธีมงคลต่าง ๆ เป็นความเชื่อที่สืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยโบราณ จะต้องหาวันและเวลาที่เหมาะสม จังหวะดีเสมอ ไม่ควรรีบร้อนทำพิธีจนเกินไป อาจจะทำให้การเตรียมการมีข้อผิดพลาด สิ่งของไม่ครบบ้าง ลืมบ้าง และก็ไม่ควรล่าช้าจนเกินไป ซึ่งจะทำให้การประกอบพิธีกรรมสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี เกิดความสบายใจ ไม่ต้องวิตกกังวลห่วงใย แนะนำให้ปรึกษาหาฤกษ์จากผู้ที่มีความรู้เรื่องหลักตำราปฏิทิน

2. นิมนต์พระ

การนิมนต์พระสงฆ์ควรทำล่วงหน้าวันทำพิธี เพราะท่านอาจมีกิจนิมนต์แล้ว จะต้องเขียนเป็นฎีกานิมนต์พระงานมงคลจะใช้คำนิมนต์ว่า “ขออาราธนาเจริญพระพุทธมนต์” ซึ่งประกอบด้วยข้อความดังนี้ นิมนต์ไปในพิธีอะไร วันไหน เวลากี่โมง สถานที่ไหน และระบุจำนวนพระสงฆ์ให้ชัดเจน เพื่อให้พระสงฆ์ท่านทราบ โดยจำนวนพระสงฆ์ที่นิยมในแต่ละพิธีมงคลนั้น ไม่ควรต่ำกว่า 5 รูป และควรเป็นจำนวนคี่ เช่น 5, 9 รูป หรือมากกว่านี้ก็ได้

 

3. เตรียมอุปกรณ์ในการประกอบพิธีและสถานที่

  1. โต๊ะหมู่บูชาพระ ชุดโต๊ะที่ประดิษฐานพระพุทธรูปองค์พระประธาน ตำแหน่งโต้ะหมู่บูชาควรตั้งไว้ด้านขวามือของพระสงฆ์รูปแรก ควรประดับด้วยแจกันดอกไม้ 1 คู่, เชิงเทียน 1 คู่ กระถางปักธูป หลีกเลี่ยงการตั้งบริเวณหน้าห้องน้ำ ใต้บันได และไม่ควรหันหน้าองค์พระประธานไปในทิศทางที่เป็นมุมอับ อ่านบทความเพิ่มเติมเกี่ยวกับ วิธีการจัดโต๊ะหมู่บูชาที่ถูกต้อง
  2. อาสนะ คือ เครื่องปูรองนั่งสำหรับพระสงฆ์ ส่วนใหญ่จะเป็นพรมหรือผ้าที่ตัดเย็บเป็นผืนสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ มีขนาดนั่งได้เพียงหนึ่งคน จะใช้ในการนั่งทำพิธีสงฆ์ต่าง ๆ ควรวางเว้นระยะให้เหมาะสมไม่ห่างหรือชิดจนเกินไป อาสนะ เช่นกันสามารถหยิบยืมจากวัดมาใช้ได้ โดยอาสนะให้จัดวางให้มีระยะห่างพอดี ไม่ชิดติดกันจนเกินไป
  3. ตาลปัตร สำหรับให้พระสงฆ์ถือบังหน้าขณะให้ศีลให้พร
  4. ขันน้ำมนต์ หรือ หม้อน้ำมนต์ เป็นภาชนะสำหรับใส่น้ำพระพุทธมนต์ จะวางไว้บริเวณโต๊ะหมู่บูชา เพื่อให้พระสงฆ์ใช้ประพรม เชื่อว่าจะทำให้เกิดความเป็นสิริมงคลแก่ตนเองและครอบครัว
  5. แป้งเจิม หรือ แป้งร่ำ เป็นแป้งดินสอพอที่นิยมใช้กันในสมัยโบราณ เรามักเห็นการเจิมที่เป็นลักษณะจุด 3 จุด นั่นหมายถึง การระลึกถึงพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ เป็นสัญลักษณ์แห่งการเริ่มต้น เป็นสิริมงคลแก่ชีวิต
  6. สายสิญจน์ เป็นเส้นด้ายสีขาวยาว ๆ อันประกอบด้วยเส้นด้ายเส้นทั้ง 9 เส้น สำหรับให้พระสงฆ์ถือขณะประนมมือเจริญพระพุทธมนต์ และนำมาวนรอบบ้านเริ่มจากเวียนขวาตามเข็มนาฬิกา แล้วโยงวนเข้ากับฐานขององค์พระประธาน 3 รอบ เพื่อให้เป็นสิริมงคลเมื่อทำพิธีขึ้นบ้านใหม่ แล้วนำต่อมาวางไว้บนพานที่อยู่ด้านขวามือของพระสงฆ์องค์แรก
  7. เทียนน้ำมนต์ ใช้จุดขณะพระสงฆ์สวดถึงบทมงคลสูตร ขึ้นบทว่า “อะเสวะนา จะพาลานัง” ให้เจ้าภาพจุดเทียนน้ำมนต์ติดขันน้ำมนต์ แล้วขันน้ำมนต์ยกขึ้นถวายแด่ประธานสงฆ์
  8. สังฆทาน สำหรับถวายสิ่งของแด่พระสงฆ์ ควรเลือกสิ่งของที่มีประโยชน์และพระสงฆ์สามารถใช้ได้ ยกตัวอย่างเช่น สบู่ ยาสีฟัน มีดโกน ร่ม ผ้าไตรจีวร ผ้าขนหนู รองเท้า อุปกรณ์การเรียน หนังสือ ปากกา ดินสอ ยางลบ และกลุ่มยาสามัญประจำบ้านต่าง ๆ เป็นต้น

 

4. เตรียมอาหาร

การเตรียมอาหาร ควรแบ่งออกเป็น 3 ประเภทดังนี้

  1. ข้าวถวายพระพุทธ ที่จัดไว้เพื่อถวายพระพุทธเจ้าจะใส่ในภาชนะถ้วยที่มีขนาดเล็กประกอบด้วย ข้าว 1 ถ้วย อาหาร ขนม และน้ำ 1 แก้ว โดยจะจัดวางไว้บนถาด แล้วนำไปวางไว้เบื้องหน้าพระประธานในพิธี
  2. อาหารสำหรับถวายพระสงฆ์ ประกอบด้วย ข้าว อาหารคาว ของหวาน ผลไม้ น้ำดื่ม เป็นต้น ไม่มีเกณฑ์กำหนดชัดเจนขึ้นอยู่กับความประสงค์ของเจ้าภาพ ควรจัดเตรียมให้เพียงพอต่อจำนวนพระสงฆ์ กรณีมีพระมากกว่า 5 รูป สามารถแยกวงฉันท์ได้
  3. อาหารสำหรับเจ้าที่เจ้าทาง เพื่อเป็นการบอกกล่าวท่าน ขอให้ช่วยปกปักรักษา คุ้มครองผู้อยู่อาศัย ประกอบด้วย อาหารคาว ของหวาน ผลไม้ น้ำสะอาด ธูป เทียน ดอกไม้ แล้วจัดเป็นสำรับแล้วนำไปวางไว้บริเวณนอกชายคาบ้าน

 

5. เชิญแขก
การเชิญแขก ญาติพี่น้อง เพื่อนสนิท เพื่อนบ้านใกล้เคียง บุคคลที่เคารพนับถือไปมาหาสู่กัน ควรทำการเชิญล่วงหน้า เพื่อมาทำบุญและรับประทานอาหารร่วมกัน

บริการยอดนิยม

ลำดับพิธีการทำบุญขึ้นบ้านใหม่

  1. เริ่มจุดเทียน โดยเริ่มจากพระหัตขวาขององค์พระประธาน และตามด้วยด้านซ้าย ตามด้วยการจุดธูปเป็นตามลำดับ
  2. กราบพระพุทธ (กราบเบญจางค์ประดิษฐ์) ผู้ดำเนินพิธีนำกล่าวบูชาพระรัตนตรัยอาราธนาศีล 5 ตามด้วยบทสมาทานศีล และกล่าวบทอาราธนาพระปริตร
  3. จากนั้นจุดเทียนสำหรับทำน้ำพระพุทธมนต์ ถวายข้าวพระพุทธ โดยวางให้สูงกว่าอาสนะสงฆ์ เมื่อพระสงฆ์สวดถึง “อเสวนา จ พาลานัง”
  4. ต่อด้วยการภัตตาหารแด่พระภิกษุสงฆ์
  5. เมื่อพระสงฆ์ฉันเสร็จแล้วให้ถวายจตุปัจจัย และสังฆทานแด่พระสงฆ์ทุกรูป
  6. สวดอนุโมทนา เจ้าภาพและผู้ร่วมพิธีกรวดน้ำอุทิศส่วนบุญกุศล
  7. ต่อด้วยการประพรมน้ำพระพุทธมนต์ ขณะนั้นก็สวดชยันโตฯ พนมมือ รับน้ำพระพุทธมนต์ไปด้วย
  8. เป็นอันเสร็จพิธี
ถวายเครื่องไทยทาน

สิ่งที่ควรทำก่อนย้ายเข้าบ้านใหม่

การปฏิบัติตามธรรมเนียมไทย เพื่อเป็นการสร้างขวัญกำลังใจแก่เจ้าบ้านให้เกิดความรู้สึกมั่นคง ปลอดภัย มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์คอยปกปักรักษา ให้เกิดแก่ความสงบใจร่มเย็น ได้แก่

  • การสักการะเจ้าที่
    เพื่อขอพรให้เทพารักษ์สิ่งศักดิ์สิทธิ์ปกป้องคุ้มครองจากสิ่งชั่วร้าย ไม่ให้เข้ามาในบ้านเรือน ส่งผลให้เจ้าบ้านเกิดความสบายใจ
  • การอันเชิญองค์พระประธานประดิษฐานภายในบ้าน ชาวพุทธนับถือพระรัตนตรัยเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตอำนวยพรให้ผู้อยู่อาศัยอยู่เย็นเป็นสุข ด้วยการอันเชิญพระพุทธรูปเข้ามาประดิษฐานในบ้าน ดังนั้นการถึงวันทำบุญขึ้นบ้านใหม่ควรจัดหาองค์พระประธานและสถานที่ประดิษฐานให้พร้อม
  • การย้ายเข้าบ้านใหม่นั้น นอกจากจะต้องหาฤกษ์งามยามดี สักการะศาลพระภูมิเจ้าที่ อันเชิญองค์ประธานเข้ามาประดิษฐานในบ้านแล้ว สิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันเลย ก็คือการปฏิบัติตนที่ดีของเจ้าบ้าน ในวันที่ทำบุญบ้านควรทำจิตใจให้สงบ ปล่อยวาง คิดถึงแต่เรื่องดี ๆ พูดจาไพเราะ ไม่ควรด่า ว่า หรือทะเลาะกับคนในครอบครัว หลีกเลี่ยงการกระทำในแง่ลบ สิ่งดี ๆ เริ่มง่าย ๆ ที่ตัวเรา
  • เช็คความพร้อมของบ้านหลังใหม่ งานพร้อมพิธีพร้อม แต่บ้านไม่พร้อมก็อาจจะส่งผลกระทบต่าง ๆ ตามมา ทำให้เสียค่าใช้เพิ่มเติม ควรเช็คความพร้อมของบ้านก่อนเข้าอยู่จริง น้ำใช้ได้สะดวกหรือไม่ ไฟเปิด/ปิดใช้งานได้ตามปกติหรือไม่ รวมทั้งปลั๊กไฟ อุปกรณ์ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น เพื่อความปลอดภัยของคนในบ้าน และวันทำบุญจะได้รับแขกได้เต็มที่ ไม่มีอะไรต้องกังวล

ประชาสัมพันธ์

ข่าวดี ! สำหรับลูกค้าท่านใดที่กำลังสนใจจะสร้างบ้าน บริษัท หรือที่อยู่อาศัยประเภทต่าง ๆ ตอนนี้เรามีแพคเกจสุดคุ้ม

"ปฐมมงคล" รวมแพคเกจลงเสาเอกและทำบุญขึ้นบ้านใหม่ไว้ในราคาเดียว ประหยัดและคุ้มค่าแน่นอน

การจัดงานขึ้นบ้านใหม่แบบประหยัด

สามารถทำได้ง่าย ๆ แบบประหยัด งบไม่บานปลาย เชื่อว่าถูกใจหลาย ๆ คนแน่นอน ด้วย 5 ไอเดียจัดงาน เหมาะกับคนยุคใหม่ที่ไม่ชอบความวุ่นวาย ความยุ่งยาก ที่สำคัญได้บุญแน่นอน จะมีอะไรบ้างไปดูกันเลย

1. จัดภายในครอบครัว

การทำบุญขึ้นบ้านใหม่นั้นไม่จำเป็นต้องเชิญแขกมาเป็นจำนวนมากก็ได้ ทำกันเล็ก ๆ ภายในครอบครัว (จะทำเฉพาะคนที่อยู่ในบ้านก็ได้) หากอยากชวนเชิญญาติอาจจะต้อง list รายชื่อเฉพาะญาติสนิทที่สำคัญจริง ๆ ให้มาทำบุญสร้างกุศลร่วมกัน

 

2. จัดภัตตาหารถวายพระสงฆ์

ส่วนใหญ่แล้วเรามักจะเคยเห็นการจัดแบบเป็นสำรับเป็นชุดให้พระสงฆ์ฉันท์ภายในบ้าน ซึ่งในปัจจุบันสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้การรับประทานร่วมกันเป็นหมู่มากนั้นมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคติดต่อ ดังนั้นการจัดภัตตาหารถวายพระสงฆ์ควรจะเป็นการจัดถวายที่วัดหรือจัดให้ภาชนะสะอาด ปลอดภัยให้พระสงฆ์ท่านสามารถนำกลับไปฉันท์ที่วัดได้ เพื่อความสะดวกและความปลอดภัยของผู้ร่วมงานทุกท่าน เจ้าภาพสามารถจัดเตรียมเองหรือสั่งทำก็ได้ตามสะดวก

 

3. การทำและเตรียมอาหารด้วยตัวเอง

เป็นอีกไอเดียหนึ่งที่ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้ค่อนข้างเยอะ เนื่องจากเราสามารถเลือกวัตถุดิบเอง กำหนดปริมาณได้ และที่สำคัญที่สุดคือการที่ทำให้คนในครอบครัวได้ทำอาหารร่วมกัน ถือว่าเป็นกิจกรรมที่ดีที่สร้างความสามัคคี สมานฉันท์กัน และได้รับประทานอาหารจากฝีมือคนที่เรารักในวันสำคัญอีกด้วย

 

4. ไม่จัดงานเลี้ยงสังสรรค์

ในสถานการณ์ปัจจุบันถือเป็นเรื่องปกติที่จะมีการงดจัดงานเลี้ยงสังสรรค์ เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 ที่ได้กล่าวไปในข้างต้น ทำให้จึงนิยมทำบุญขึ้นบ้านใหม่แบบ new normal ทำเฉพาะพิธีสงฆ์แบบเรียบง่ายตามหลักศาสนาพุทธและประเพณีไทย (อาจจะจัดช่วงเช้าและรับประทานอาหารร่วมกันตอนกลางวันก็เป็นอันเสร็จพิธี หรือจัดพิธีช่วงบ่ายรับประทานอาหารร่วมกันในช่วงเย็นก็ได้ ตามฤกษ์)

 

5. จ้างบริษัทจัดงานตามงบประมาณ

การจ้างบริษัทจัดงานให้เป็นที่นิยมเป็นอย่างมากในปัจจุบัน เพราะสามารถป้องกันการเกิดปัญหางบบานปลาย ช่วยเราวางแผนค่าใช้จ่ายได้อย่างแม่นยำ และไม่ต้องเสียเวลาศึกษาเรื่องพิธีกรรม ขั้นตอนต่าง ๆ เตรียมของ สังฆทาน และอุปกรณ์พิธีสงฆ์ให้เหนื่อย ในวันงานก็ไม่ต้องคอยกังวลว่าจะทำถูกมั้ย วิธีนี้ถือว่าเป็นอีกทางเลือกต้น ๆ ที่ควรพิจารณา

สอบถามราคา กลับสู่สารบัญ

ฤกษ์ทำบุญบ้าน 2567 | 2024

กดคลิกดูตามเดือนได้เลยครับ

  • วันพระ : 4 10 18 25
  • ฤกษ์มงคลล้านนา : 3 6 7 8 9 10 14 15 16 18 20 23 25 27 28
  • ฤกษ์มงคลปฏิทินไทย : 6 13 17 24 31
  • วันพระ : 2 9 17 24
  • ฤกษ์มงคลล้านนา : 1 3 5 6 8 14 16 17 21 22 23 28 29
  • ฤกษ์มงคลปฏิทินไทย : 7 10 24
  • วันพระ : 3 9 17 24
  • ฤกษ์มงคลล้านนา : 1 5 6 9 11 13 15 16 17 20 22 23 24 25 28 29 31
  • ฤกษ์มงคลปฏิทินไทย : 2 9 27 30
  • วันพระ : 1 8 16 23
  • ฤกษ์มงคลล้านนา : 1 3 6 7 9 10 17 19 21 22 26 28 30
  • ฤกษ์มงคลปฏิทินไทย : 6 18 23 25
  • วันพระ : 1 7 15 22 30
  • ฤกษ์มงคลล้านนนา : 1 5 7 9 12 14 19 20 21 23 26 28 30
  • ฤกษ์มงคลปฏิทินไทย : 2 16
  • วันพระ : 6 14 21 29
  • ฤกษ์มงคลล้านนา : 1 2 3 6 7 8 12 13 19 21 22 26 28
  • ฤกษ์มงคลปฏิทินไทย : 4 11 18 20 25 27
  • วันพระ : 5 13 20 28
  • ฤกษ์มงคลล้านนา : 3 5 6 7 8 10 11 12 15 17 19 20 24 26 28 29
  • ฤกษ์มงคลปฏิทินไทย : 2 4 9 16 18 23 25 30
  • วันพระ : 4 12 19 27
  • ฤกษ์มงคลล้านนา : 2 4 6 9 13 14 18 21 26 27 30
  • ฤกษ์มงคลปฏิททินไทย : 1 8 15 20 22 29
  • วันพระ : 2 10 17 25
  • ฤกษ์มงคลล้านนา : 2 3 5 7 10 12 14 15 16 19 21 23 28 30
  • ฤกษ์มงคลปฏิทินไทย : 17 24 26
  • วันพระ : 2 10 17 25
  • ฤกษ์มงคลล้านนา : 2 3 5 7 10 12 14 15 16 19 21 23 28 30
  • ฤกษ์มงคลปฏิทินไทย : 17 24 26
  • วันพระ : 8 15 23 30
  • ฤกษ์มงคลล้านนา : 1 2 6 7 8 9 10 11 15 17 20 24 25 28 29 30
  • ฤกษ์มงคลปฏิทินไทย : 5 12 14 19 21 26
  • วันพระ : 8 15 23 29
  • ฤกษ์มงคลล้านนา : 1 4 8 9 10 16 17 18 23 24 25 27 29 31
  • ฤกษ์มงคลปฏิทินไทย : 3 5 12 19 26

ดูรายละเอียดเกี่ยวกับฤกษ์มงคลเพิ่มเติม

บทความที่น่าสนใจ

อ่านเพิ่มเติม