การนิมนต์พระ งานมงคลและงานอวมงคล มีหลักการและข้อควรปฏิบัติอย่างไร

นิมนต์พระ

พิธีกรรมสำคัญทางพุทธศาสนาจะสำเร็จลุล่วงไปด้วยดีจะต้องมีพระสงฆ์เป็นผู้ประกอบพิธี การนิมนต์พระจึงถือเป็นขั้นตอนแรก ๆ ที่ต้องคำนึงถึง ไม่ว่าจะเป็นงานมงคลหรืองานอวมงคล เช่น พิธีทำบุญขึ้นบ้านใหม่ ทำบุญบริษัท งานแต่ง ทำบุญวันเกิด ทำบุญร้อยวัน และงานศพ เป็นต้น ซึ่งการนิมนต์พระสงฆ์ควรนิมนต์ไว้ล่วงหน้า เขียนเป็นหนังสือหรือทางราชการเรียกว่า “การวางฎีกานิมนต์พระสงฆ์” เพื่อเป็นลายลักษณ์อักษรให้แก่พระสงฆ์

การนิมนต์พระคืออะไร

คือการที่เจ้าภาพหรือผู้จัดพิธีทำการติดต่อพระสงฆ์ เพื่อแจ้งความจำนงขออาราธนาเรียนเชิญพระสงฆ์ควรเขียนเป็นหนังสือวางฎีกานิมนต์พระสงฆ์ โดยมีเนื้อหาดังต่อไปนี้ นิมนต์ให้ประกอบพิธีใด จำนวนพระสงฆ์ที่ต้องการ วัน เวลา และได้กําหนดจะจัดทำขึ้น ณ สถานที่ใดแจ้งให้ชัดเจน

หากเป็นการนิมนต์พระมาประกอบพิธีมงคลจะนิยมใช้คำว่า “ขออาราธนาเจริญพระพุทธมนต์” และถ้าเป็นพิธีอวมงคลจะใช้คำว่า “ขออาราธนาสวดพระพุทธมนต์” หรือเปลี่ยนจากคำว่า “เจริญ” เป็นคำว่า “สวด” แทน ส่วนการนิมนต์มาเพื่อทำบุญเลี้ยงพระ ฉันท์ภัตตาหารต่าง ๆ จะนิยมใช้คำว่า “นิมนต์พระคุณเจ้ามารับบิณฑบาตเช้า หรือนิมนต์พระคุณเจ้าฉันภัตตาหารเช้าหรือภัตตาหารเพล” และไม่ต้องระบุรายละเอียดเกี่ยวกับอาหารที่จะถวายว่าประกอบด้วยอะไรบ้าง เพราะถือว่าเป็นการขัดต่อวินัยสงฆ์ คลิกเพื่ออ่านข้อมูลอย่างละเอียด

จำนวนพระสงฆ์ในละพิธี

จำนวนพระสงฆ์เป็นปัจจัยที่ผู้ทำการนิมนต์พระต้องรู้หลักการของพิธีกรรมนั้น ๆ เพราะพิธีกรรมแต่ละพิธีกรรมจะมีจำนวนที่แตกต่างกันออกไป ส่วนจำนวนพระสงฆ์ที่นิยมกันคือ 5 รูป 7 รูป และ 9 รูป เพื่อจะได้ครบองค์คณะสงฆ์ กรณีเป็นงานพระราชพิธี หรือพิธีการทางราชการจะนิมนต์พระจำนวน 10 รูป อย่างไรก็ตามจำนวนการนิมนต์พระนั้นจะต้องขึ้นอยู่กับพิธีกรรมที่จะจัดขึ้น ตัวอย่างดังต่อไปนี้

นิมนต์พระขึ้นบ้านใหม่
  • นิมนต์พระ 1 รูป และนิมนต์พระ 3 รูป 

    เป็นจำนวนที่ไม่ค่อยนิยมกันมากนัก แต่ก็สามารถประกอบพิธีบางพิธีกรรมได้ เช่น ทำบุญเลี้ยงพระ ทำบุญวันเกิด และสวดเจริญพระพุทธมนต์ เป็นต้น

  • นิมนต์พระ 5 รูป 

    ถือว่าเป็นจำนวนที่เหมาะสมและเป็นที่นิยมในพิธีกรรมทำบุญโดยทั่วไป จะนิมนต์พระไม่ต่ำกว่า 5 รูปขึ้นไป เช่น พิธีทำบุญขึ้นบ้านใหม่ พิธีถอนสิ่งอัปมงคล และพิธีสืบชะตาสะเดาะเคราะห์

“สงฆ์ปัญจวรรค คือ หมู่ภิกษุตั้งแต่ 5 รูปขึ้นไป สามารถทำปวารณา ให้ผ้ากฐิน และให้การอุปสมบทในปัจจันตชนบทได้ (สถานที่ขาดแคลนพระสงฆ์ เช่น ในเขตชนบท)”

  • นิมนต์พระ 9 รูป 

    การนิมนต์พระ 9 รูปนั้น จะนิยมมาประกอบพิธีกรรมมงคล โดยมีความเชื่อที่ว่าเลข 9 ออกเสียงใกล้เคียงกับคำว่า “ก้าว” หมายถึงความก้าวหน้า ความเจริญรุ่งเรือง โชคดีมีชัย ตามคติทางพระพุทธศาสนาว่า เลข 9 นั้น เท่ากับโลกุตตรธรรม 9 ประการ คือ มรรค 4 ผล 4 นิพพาน 1 ซึ่งเป็นผลที่ยอดเยี่ยมสูงสุดในพระพุทธศาสนา และนวหรคุณ 9 ประการ ซึ่งถือว่าเป็นสิริมงคลอย่างสูง

  • นิมนต์พระ 10 รูป 

    การนิมนต์พระสงฆ์ 10 รูป เป็นในส่วนของงานพระราชพิธี หรือพิธีการทางราชการ ทั้งงานมงคลและงานอวมงคล

อย่างไรก็ตามจำนวนพระสงฆ์ที่จะนิมนต์นั้น ย่อมขึ้นอยู่ตามกำลังศรัทธา กำลังทรัพย์ของเจ้าภาพผู้จัดงาน และรวมถึงขนาดของสถานที่จัดงานด้วย ตามคติความเชื่อโบราณยิ่งมีจำนวนพระสงฆ์มากก็จะยิ่งเพิ่มบุญกุศลมากขึ้นตามจำนวนพระสงฆ์ คู่มือการปฏิบัติศาสนพิธีเบื้องต้น

ประเภทของพิธีกรรมทางศาสนา

พิธีกรรมในพุทธศาสนา มีขั้นตอนและหลักการการปฏิบัติที่มีทั้งเหมือนกันและแตกต่างกันบ้างเล็กน้อย อาจมีเพิ่มหรือลดขั้นตอนบางอย่าง ซึ่งถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่

  1. พิธีกรรมมงคล จัดทำขึ้นเพื่อสร้างความสุขเป็นสิริมงคล ก้าวหน้า เจริญรุ่งเรือง เช่น งานทำบุญขึ้นบ้านใหม่, ทำบุญบริษัทใหม่, งานมงคลสมรส และงานทำบุญวันเกิด เป็นต้น
  2. พิธีกรรมอวมงคล จัดทำขึ้นเพื่อปัดเป่าเคราะห์ร้าย เรื่องไม่ดีให้หมดไป รวมถึงช่วยบำบัดบรรเทาทุกข์เศร้า เช่น ทำบุญงานศพ, ทำบุญ 100 วัน และอาเพศภัยพิบัติต่าง ๆ เป็นต้น

เกล็ดน่ารู้

หลักการการนิมนต์พระเพื่อประกอบพิธีงานอวมงคลงานศพ มีจำนวนที่นิยมดังต่อไปนี้

  1. พิธีสวดพระอภิธรรม ให้นิมนต์เป็นจำนวน 4 รูป เป็นอย่างน้อย
  2. พิธีสวดหน้าไฟ ขณะเวลาที่เผาศพ เป็นจำนวน 4 รูป เป็นอย่างน้อย
  3. พิธีสวดพระพุทธมนต์งานบำเพ็ญกุศลศพ เช่นทำบุญ 7 วัน 50 วัน หรือ 100 วันเป็นต้น ให้นิมนต์พระสงฆ์ 5 รูป 7 รูป 10 รูป เป็นต้น
  4. พิธีสวดแจงงานฌาปนกิจศพ นิยมนิมนต์พระสงฆ์จำนวน 20 รูป 25 รูป 100 รูป หรือนิยมนิมนต์หมดทั้งวัด
  5. พิธีสวดมาติกาบังสุกุลศพ นิยมนิมนต์เท่าจำนวนอายุของผู้วายชนที่ต้องการบำเพ็ญกุศลอุทิศให้ เช่น ผู้ตายอายุ 80 ปี ก็นิมนต์พระสงฆ์ 80 รูป เป็นต้น

หมายเหตุ : ข้อ 3, 4 และ 5 สามารถนิมนต์ตามกำลังศรัทธา และความเหมาะสมของสถานที่ที่จัดทำพิธี 

นิมนต์พระขึ้นบ้านใหม่

การนิมนต์พระสงฆ์ควรทำล่วงหน้าวันทำพิธี เพราะท่านอาจมีกิจนิมนต์แล้ว จะต้องเขียนเป็นฎีกานิมนต์พระงานมงคลจะใช้คำนิมนต์ว่า “ขออาราธนาเจริญพระพุทธมนต์” ซึ่งประกอบด้วยข้อความดังนี้ นิมนต์ไปในพิธีอะไร วันไหน เวลากี่โมง สถานที่ไหน และระบุจำนวนพระสงฆ์ให้ชัดเจน เพื่อให้พระสงฆ์ท่านทราบ โดยจำนวนพระสงฆ์ที่นิยมในแต่ละพิธีมงคลนั้น ไม่ควรต่ำกว่า 5 รูป และควรเป็นจำนวนคี่ เช่น 5, 9 รูป หรือมากกว่านี้ก็ได้ ดูรายละเอียดเพิ่มเติม >> คลิกเลย

บริการยอดนิยม

นิมนต์ทำบุญ 100 วัน

การทำบุญ 100 วัน เป็นพิธีกรรมที่มีธรรมเนียมปฏิบัติแต่ละพื้นที่ แต่ละบุคคลที่แตกต่างกันออกไป เพราะการทำบุญร้อยวันนั้น บ้างก็มองว่าเป็นงานมงคล บ้างก็ว่าเป็นงานอวมงคล จึงไม่ได้มีการกำหนดจำนวนพระสงฆ์อย่างชัดเจนแต่อย่างใด โดยปกติแล้วถ้าหากอิงจากประเพณีปฏิบัติตามภาคเหนือล้านนาของเรานี้ มักจะนิยมนิมนต์พระเป็นจำนวนเลขคู่ เพราะถือว่าการทำบุญ 100 วัน เป็นงานอวมงคล แต่อย่างไรก็ตามก็ขึ้นอยู่กับความเชื่อของเจ้าภาพผู้จัดงาน ขั้นตอนการจัดงานทำบุญ 100 วัน