phalangsattha

รับตั้งศาลพระภูมิ เชียงใหม่

พร้อมจัดเครื่องบวงสรวงตั้งศาลเจ้าที่แบบล้านนา

พลังศรัทธา บริการรับตั้งศาลพระภูมิ เชียงใหม่และพื้นที่ใกล้เคียง พร้อมบริการจัดเครื่องบวงสรวง ทำพิธีตั้งศาลเจ้าที่แบบล้านนา ดูฤกษ์มงคลให้ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย เพื่อเป็นสิริมงคลชีวิต พิทักษ์ปกปักรักษาผู้อยู่อาศัยให้อยู่เย็นเป็นสุข ทำมาค้าขึ้น และบันดาลพรอำนวยโชคลาภ

โดยการตั้งศาลพระภูมินั้น จะตั้งตามใจชอบไม่ได้ เพราะมีความเชื่อกันว่าถ้าตั้งศาลพระภูมิเจ้าที่ไม่ถูกต้องตามตำราและหลักพิธีการ จะนำความพินาศและสิ่งที่ไม่ดีมาสู่ครอบครัว ดังนั้นควรให้ผู้เชี่ยวชาญมาทำพิธีให้ เพื่อถูกต้องตามตำรา รวมถึงการตั้งให้ถูกทิศถูกทาง หาฤกษ์มงคล การสักการะบูชา กล่าวคาถา และวิธีการบวงสรวงอัญเชิญ

ดูโปรโมชั่น

การตั้งศาลพระภูมิ คืออะไร

การตั้งศาลพระภูมิ คือ การอันเชิญเทพารักษ์ให้มาสถิตในเจว็ดศาลพระภูมิ คนไทยมีความเชื่อว่าเป็นการขอพรดลบันดาลให้ท่านปกปักรักษา สร้างความอุ่นใจ เกิดโชคลาภ และให้ผู้อยู่อาศัยมีความสุขร่มเย็น สบายกายสบายใจ ดังนั้นเมื่อสร้างบ้านเสร็จจึงต้องทำพิธีตั้งศาลพระภูมิเจ้าที่

อ่านเพิ่มเติม

ประมวลภาพผลงานรับตั้งศาลพระภูมิ

รีวิวเพิ่มเติม

พระชัยมงคล

องค์พระภูมิที่สถิตตามบ้านเรือนจะมีพระนามว่า “พระชัยมงคล” สถิตอยู่ใน “เจว็ด” เป็นรูปเทวดาถือพระขรรค์ ถือถุงเงินถุงทอง มีบริวาร 3 ตน ชื่อ จันทิศ จันที และจ่าประสพพระเชิงเรือน คอยดูแลรับใช้ ซึ่งชาวไทยถือว่า “ศาลพระภูมิ” จะช่วยพิทักษ์ปกปักรักษาให้อยู่ร่มเย็นเป็นสุขและทำมาค้าขึ้น ให้ทรัพย์อำนวยโชคลาภป้องกันเภทภัยต่าง ๆ ให้กับเรา

แพคเกจตั้งศาลพระภูมิเชียงใหม่

แพคเกจประหยัด

  • ผู้ดำเนินพิธี
  • สำรับอาหาร 5 อย่าง
  • ผลไม้มงคล 5 อย่าง (รวม)
  • ขนมไทยมงคล 5 อย่าง (รวม)
  • เครื่องตกแต่งบนศาล 1 ชุด
  • บายศรีปากชาม 1 คู่
  • ดอกไม้ ธูปเทียน
  • อุปกรณ์ประกอบพิธี
4,900.-

แพคเกจ XS

  • ผู้ดำเนินพิธี
  • สำรับอาหาร 5 อย่าง
  • ผลไม้มงคล 5 อย่าง
  • ขนมไทยมงคล 5 อย่าง
  • เครื่องตกแต่งบนศาล 1 ชุด
  • บายศรีปากชาม 1 คู่
  • ขดอกไม้ ธูปเทียน
  • อุปกรณ์ประกอบพิธี
6,900.-

แพคเกจ S

  • ผู้ดำเนินพิธี
  • สำรับอาหาร 5 อย่าง
  • ผลไม้มงคล 5 อย่าง
  • ขนมไทยมงคล 5 อย่าง
  • เครื่องตกแต่งบนศาล 1 ชุด
  • หัวหมู 1 หัว
  • ไก่ 1 คู่
  • เผือก 1 จาน
  • มัน 1 จาน
  • บายศรีปากชาม 1 คู่
  • ดอกไม้ ธูปเทียน
  • อุปกรณ์ประกอบพิธี
สอบถามราคาดู/แพคเกจอื่น

เครื่องตกแต่งบนศาลประกอบด้วย

ตุ๊กตาชายหญิง 1 ชุด, ช้างม้า 1 ชุด, ตุ๊กตาละคร 1 ชุด, พานข้าวตอกดอกไม้, ธูป, เทียนเงิน และเทียนทอง

หมายเหตุ

  • สามารถนิมนต์พระสงฆ์ประกอบพิธีได้ สอบถามแอดมินได้เลยครับ
  • ลูกค้าสามารถแจ้งรายการอาหารและเครื่องสังเวยได้ ราคาอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามรายการอาหาร
  • อาหารคาวหวาน เครื่องไหว้ อาจมีการปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสม

บริการดูฤกษ์ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย

สามารถทักไลน์หรืออินบล็อก เพื่อสอบถามแอดมินได้เลย

สอบถามฤกษ์ ดูรีวิวเพิ่มเติม

เหตุผลที่ต้องเลือกพลังศรัทธา

รีวิวความประทับใจจากลูกค้า

ผู้เตรียมงานจัดการดีมากคะ แนะนำเลย ไปถึงแทบไม่ต้องทำอะไรเลย เค้าเตรียมให้หมดแล้ว สะดวกกับยุคนี้มาเลยค่ะ ปลื้มมากเลยคะ

คุณศิริเพ็ญ

ขอขอบคุณทีมงานคุณภาพที่จัดเตรียมพิธีได้เป็นอย่างดี ครบถ้วนตามแบบพิธีล้านนา ไม่ต้องเตรียมอะไรเองเลย ทีมงานจัดให้ทั้งหมด สะดวกและง่ายสำหรับคนที่กำลังวางแผนทำบุญบ้านมากๆค่า

คุณธนาภรณ์

เตรียมงานดำเนินการทุกอย่างดีมากๆเลยค่ะ
สะดวก เหมาะสำหรับคนยุคใหม่ ทั้งพิธีลงเสาเอกและทำบุญขึ้นบ้านใหม่

คุณไพรินทร์

รีวิวทั้งหมด

หลักการตั้งศาลพระภูมิเจ้าที่

หลักการตั้งศาลพระภูมิเจ้าที่ ควรคำนึงถึงเรื่องการดูบริเวณสถานที่ ตำแหน่งที่ตั้ง ฤกษ์วันเวลามงคล ทิศทาง และผู้ทำพิธีกรรมให้มีความเหมาะสมและเชี่ยวชาญ โดยพิจารณาจากหลักการดังต่อไปนี้

  1. บริเวณที่ตั้งศาลต้องบนพื้นดิน และต้องไม่ใช่บริเวณเดียวกับพื้นของตัวบ้าน
  2. กรณีอาศัยในเคหะสถานที่ไม่มีพื้นดิน ก็สามารถตั้งศาลบนชั้นดาดฟ้าได้เช่นกัน ซึ่งศาลที่ตั้งอยู่บนชั้นดาดฟ้าจะเป็นศาลเทพไม่ใช่พระภูมิเจ้าที่ เช่น ศาลพระพรหม ศาลพระนารายณ์
  3. ตำแหน่งที่ตั้งศาลจะต้องไม่โดนเงาของตัวบ้านทอดลงมาทับ
  4. ควรตั้งศาลให้ห่างจากบริเวณห้องน้ำ
  5. ห้ามหันหน้าศาลตรงกับบริเวณที่ตั้งของห้องน้ำ
  6. ศาลพระภูมิจะต้องตั้งห่างจากรั้วบ้านหรือกำแพงอย่างน้อย 1 เมตร
  7. ไม่ควรตั้งศาลให้หันหน้าตรงเข้ากับบริเวณประตูหน้าบ้าน
  8. ไม่ควรตั้งศาลให้ติดกับตัวบ้านมากนัก
  9. แนะนำให้ทำพื้นยกสูงห่างจากพื้นดินขึ้นสัก 1 คืบ เพื่อเป็นฐานรองศาล
  10. ความสูงของศาลพระภูมิ ควรสูงกว่าระดับสายตาของผู้เป็นเจ้าของบ้านเล็กน้อย

พระตั้งศาลพระภูมิได้ไหม

พระสามารถทำการตั้งศาลพระภูมิได้ แต่ต้องมีความเชี่ยวชาญ และเข้าใจตำราหลักพิธีการอย่างถูกต้อง

เครื่องตั้งศาลพระภูมิเจ้าที่

เครื่องประดับตกแต่งบนศาล
  • ตุ๊กตาชายหญิง 1 ชุด
  • ช้างม้า 1 ชุด
  • ตุ๊กตาละคร 1 ชุด
  • น้ำอบ
  • พวงมาลัย
  • พานข้าวตอกดอกไม้ 
  • ธูป เทียนเงิน เทียนทอง
  • แจกัน 1 คู่
  • เชิงเทียน 1 คู่
  • กระถางธูป 1 ใบ
แพคเกจตั้งศาล
เครื่องสังเวย
  • อาหารคาว 5 อย่าง มักจะนิยมเป็น หัวหมูพร้อมเท้าทั้ง 4 และหาง, เป็ดพะโล้, ไก่, กุ้งแม่น้ำ, ปูทะเล, ปลาช่อนนึ่งสุก
  • ผลไม้มงคล 7 ชนิด เช่น ส้ม,ลิ้นจี่, กล้วย, ทับทิม, แอปเปิล, องุ่น และสับปะรด
  • ขนมไทยมงคล 7 ชนิด อย่างเช่น มะพร้าวอ่อน, กล้วยน้ำว้า, เผือกต้มสุก, มันต้มสุก, นมเนย, ขนมต้มขาว, ขนมต้มแดง และหมากพลู
  • บายศรีปาก ขนาดจะใหญ่หรือเล็กขึ้นอยู่กับงานที่จะทำพิธี ซึงองค์บายศรีแต่ละองค์ มีความหมายแทน 1. พระพุทธ 2. พระธรรม และ 3. พระสงฆ์ หรือถ้าถือตามศาสนาพราหมณ์ หมายถึง พระตรีมูรติ ซึ่งได้แก่ พระศิวะ พระนารายณ์ และพระพรหม

หมายเหตุ : อาหารดังกล่าวเป็นเพียงตัวอย่างที่นิยมถวาย ไม่ใช่อาหารในแพคเกจ

อ่านข้อมูล : ความสำคัญของบายศรีปากชาม

เกร็ดความรู้

ตุ๊กตาบนศาลพระภูมิ มีความเชื่อว่าเป็นตัวแทนบริวารของพระชัยมงคล ที่พระองค์ได้ส่งมาดูแลศาลพระภูมิ บริวารจะมาสิงสถิตอยู่ในรูปปั้นตุ๊กตาเหล่านั้น โดยตุ๊กตาตัวหลัก ๆ ที่ช่วยอำนวยความสะดวกแก่พระชัยมงคล ซึ่งประกอบด้วย

  1. ตุ๊กตาผู้ชายและผู้หญิง เป็นตัวแทนของบ่าวที่ทำหน้าที่ปรนนิบัติรับใช้
  2. ตุ๊กตานางรำ เพื่อสร้างความรื่นเริงบันเทิง
  3. ตุ๊กตารูปสัตว์ต่าง ๆ เช่น ช้าง ม้า เพื่อใช้เป็นพาหนะในการเดินทาง

สามารถตกแต่งเพิ่มเติมด้วยเครื่องตกแต่งอื่น ๆ ได้ เช่น ฉัตรเงินฉัตรทอง, ผ้าสามสี, มาลัยดอกไม้ดาวเรือง, โพธิ์เงินโพธิ์ทอง, โอ่งเงินโอ่งทอง เป็นต้น เพื่อความสวยงามของศาลพระภูมิ

วิธีการตั้งศาลเจ้าที่แบบล้านนา

  1. เริ่มจากการนำเครื่องเซ่นสังเวยต่าง ๆ มาวางเรียงจากซ้ายไปขวาตามลำดับ ผลไม้ กล้วย ขนมต้มแดง ขนมต้มขาว ขนมถ้วยฟู ทองหยิบทองยอด ขนมเทียน และนำเครื่องประดับศาลตั้งไว้ในถาดข้างหน้าเครื่องสังเวย เช่น ตุ๊กตาชายหญิง 1 ชุด ช้างม้า 1 ชุด และตุ๊กตาละคร 1 ชุด
  2. จากนั้นทำการจุดธูปเทียน ผู้ดำเนินพิธีกล่าวบอกแม่ธรณี กล่าวคาถาชุมนุมเทวดา กล่าวคำปูจาแม่ธรณีและท้าวทั้งสี่ กล่าวคำปูจาพญาอินทร์ พร้อมอัญเชิญพระภูมิเจ้าที่ให้มาสถิตในศาล อ่านข้อมูลเกี่ยวกับ พิธีขออนุญาตเจ้าที่ก่อนลงเสาเอก
  3. นำเอาก้อนดินบริเวณนั้น สมมติขึ้นว่าเป็นตัวแทนของเจ้าที่ แล้วนำไปวางในศาลพระภูมิ
  4. หลังจากการสวดอัญเชิญเสร็จ ก็มีการผูกข้อมือเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ผู้เข้าร่วม
กลับสู่สารบัญ

การบูชาศาลพระภูมิ 

การบูชาศาลพระภูมิ ถือว่าเป็นขอพรให้ช่วยปกปักรักษาคุ้มครองบ้านเรือน ชีวิตราบรื่นไม่มีปัญหาอุปสรรค คนในบ้านอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ซึ่งมักนิยมใช้ธูป 9 ดอก และอาจมีของไหว้ต่าง ๆ เช่น ดอกไม้ อาหารคาว ขนมมงคล และผลไม้ เป็นต้น

 

คาถาบูชาศาลพระภูมิ

“ยัสสามุสสะระเณนาปิ อันตะลิกเขปิปาณิโน ปะติฎฐะมะธิคัจฉันติ ภูมิยังวิยะ สัพพะทา สัพพูปัททะวะชาลัมหา ยักขะโจราทิสัมภะวา คะณะนาณะจะ มุตตานัง ปะริตตันตัม ภะณามะเหฯ”

โปรโมชั่นต้านโควิด

ค้นหาแพคเกจที่เหมาะกับคุณ และส่วนลดพิเศษในราคาที่ถูกใจ คุ้มค่า ประหยัด แต่คงความสวยงามและพิธีกรรมถูกต้อง

สอบถามโปรโมชั่น

ความเป็นมาของพระภูมิเจ้าที่

พระภูมิเจ้าที่ คือ เทพที่ดูแลพื้นดิน ศาล คือ ที่สถิตของพระภูมิ ชาวไทยเชื่อกันว่าจะคอยปกปักรักษา ดูแลบ้านเรือนที่อยู่อาศัย สถานที่ต่าง ๆ รวมไปถึงไร่นาสวน นับว่าเป็นธรรมเนียมที่ปฏิบัติสืบทอดและยึดถือปฏิบัติบูชาต่อกันมาอย่างยาวนาน สามารถเห็นได้ทั่วไปตามเคหะสถาน บริเวณบ้านเรือน ซึ่งมักจะนิยมทำ พิธีตั้งศาลร่วมกับวันทำบุญบ้านขึ้นใหม่

 

ชาวจีนเรียกศาลพระภูมิว่า “ตี่จู้เอี๊ยะ”

 

เรื่องเล่าเกี่ยวกับศาลพระภูมิมีความว่า กาลครั้งหนึ่ง มีพระมหากษัตริย์ทรงมีนามว่า พระเจ้าทศราช มีพระมเสีนามว่า พระนางสันทาทุกข์ พระองค์ครอบครองสิริราชสมบัติ ณ เมืองกรุงพาลี และได้มีพระราชโอรสด้วยกันทั้งหมด 9 พระองค์ มีพระนามว่า พระชัยมงคล, พระนครราช, พระเทวเถร, พระชัยสพ, พระคนธรรพ์, พระธรรมโหรา, พระวันทัต, พระธรรมกฤช และพระธารธารา (เทวดา 9 องค์ในความเชื่อของสะตวง 9 ช่อง) เมื่อพระโอรสทั้งหลายทรงเข้าสู่ช่วงเจริญวัย และทรงมีพระปรีชาสามารถกันแล้ว พระเจ้าทศราชจึงแต่งตั้งให้ไปครอบครองภูมิสถานที่ต่าง ๆ ซึ่งได้แก่

อ่านประวัติความเป็นมาของ เจ้าที่ผู้ดูแลพื้นดิน “ศาลพระภูมิ”  ได้ที่นี่

องค์ที่ 1 พระชัยมงคล

พระชัยมงคลแต่งทรงฉลองพระองค์เหมือนเทพารักษ์หรือพระมหากษัตริย์ โดยทรงสวมชฎาทรงสูง พระภูษาห้อยชาย มีสายธุรำ สวมสายสังวาล, กำไล, ปั้นเหน่ง และพาหุรัด และสวมฉลองพระบาทเชิงงอน พระหัตถ์ซ้ายทรงถือถุงเงิน พระหัตถ์ขวาทรงถือพระขรรค์ ปกครองดูแลสถาน ร้านโรง และบ้านเรือนต่าง ๆ

องค์ที่ 2 พระนครราช

พระนครราชแต่งทรงฉลองพระองค์เหมือนเทพารักษ์หรือพระมหากษัตริย์ โดยทรงสวมชฎาทรงสูง ซึ่งจะทรงฉลองพระองค์เหมือนกับพระภูมิชัยมงคล แต่จะแตกต่างกันตรงที่พระหัตถ์ซ้ายพระชัยมงคลทรงถือถุงเงิน ส่วนพระนครราชพระหัตถ์ซ้ายทรงถือช่อดอกไม้แทน ปกครองดูแลป้อม, ค่าย, ประตูเมือง, หอรบ และบันไดต่าง ๆ

องค์ที่ 3 พระเทวเถร

พระเทวเถร หรือ พระเทเพล ทรงฉลองพระองค์เหมือนกับพระภูมิชัยมงคล แต่พระหัตถ์ซ้ายของพระเทวเถรทรงถือหนังสือหรือคัมภีร์แทน ปกครองดูแลดูแลฟาร์ม, ไร่, ช้าง, ม้า และคอกสัตว์ต่าง ๆ

องค์ที่ 4 พระชัยสพ

พระชัยสพ หรือ พระโพสพ แต่งทรงฉลองพระองค์เหมือนกับพระภูมิชัยมงคล แต่จะแตกต่างตรงพระหัตถ์ขวาของพระชัยสพถือหอก และพระหัตถ์ซ้ายวางแนบอยู่บริเวณเอว ปกครองดูแลพวกยุ้งฉาง กองเสบียง และกองคลัง

องค์ที่ 5 พระคนธรรพ์

พระคนธรรพ์ แต่งทรงฉลองพระองค์เหมือนกับพระภูมิชัยมงคล แต่จะแตกต่างตรงพระหัตถ์ซ้ายพระคนธรรพ์ถือผะอบ ปกครองดูแลโรงพิธีวิวาห์มงคล, เรือนหอบ่าวสาว และสถานบันเทิงต่าง ๆ

องค์ที่ 6 พระธรรมโหรา

พระธรรมโหรา หรือ พระเยาวแผ้ว แต่งทรงฉลองพระองค์เหมือนกับพระภูมิชัยมงคล แต่จะแตกต่างตรงพระหัตถ์ซ้ายพระธรรมโหราแพนหางนกยูง ปกครองดูแลท้องทุ่ง ป่าเขา ป่าไม้ และเรือกสวนไร่นาต่าง ๆ

องค์ที่ 7 พระวันทัต

พระวันทัต หรือ พระเทวเถรวัยทัต แต่งทรงฉลองพระองค์เหมือนกับพระภูมิชัยมงคล แต่ตรงพระหัตถ์ขวาของพระวันทัตทรงถือธารพระกร หรือ ไม้เท้า ดูแลปกครองปูชนียสถาน, ชนียวัตถุ, เจดีย์และวัดวาอารามโบสถ์วิหารต่าง ๆ

องค์ที่ 8 พระธรรมกฤช

พระธรรมกฤช หรือ พระธรรมมิคราช แต่งทรงฉลองพระองค์เหมือนกับพระภูมิชัยมงคล แต่ตรงพระหัตถ์ด้านซ้ายของพระธรรมกฤชทรงถือพวงมาลา ดูแลปกครองสวนผลไม้ พืชพันธุธัญญาหารทั้งปวง และพระราชอุทยานต่าง ๆ

องค์ที่ 9 พระธารธารา

พระธารธารา แต่งทรงฉลองพระองค์เหมือนกับพระภูมิชัยมงคล แต่ตรงพระหัตถ์ของพระธารธาราไม่ได้ถือสิ่งใดเลยดูแลปกครองห้วย หนอง คลอง บึง และลำธารต่าง ๆ ตลอดจนน้ำที่ตกลงมาจากฟ้า

ต่อมาพระเจ้าทศราช (พระเจ้ากรุงพาลี) มิได้ตั้งอยู่ในทศพิธราชธรรม จึงเกิดความโลภมาก ปกครองบ้านเมืองอย่างไร้คุณธรรม กดขี่ข่มเหงราษฎร จนได้รับความเดือดร้อนไปทั่วทุกแห่ง และยังรับสั่งให้พระโอรสทั้ง 9 พระองค์เรียกร้องเครื่องเซ่นสังเวยต่าง ๆ จนราษฎรได้รับความลำบาก เรื่องจะร้อนไปถึงองค์พระนารายณ์

 

ดูรายละเอียด : นามชายาพระภูมิ หรือ พระภูมิสตรี

 

พระนารายณ์ทรงอวตารเป็นพราหมณ์น้อยมาพึ่งขอที่อยู่ต่อพระเจ้ากรุงพาลีเพียง 3 ย่างก้าว เพื่อบำเพ็ญพรต พระเจ้ากรุงพาลีทรงอนุญาตให้และหลั่งน้ำอุทกธาราอุทิศต่อมาพระนารายณ์ทรงแปลงกลับเป็นพระนารายณ์ 4 กร และได้ขับไล่พระเจ้าทศราช ให้ออกไปอยู่ป่าหิมพานต์ จึงทำให้พระเจ้าทศราช และพระภูมิเจ้าที่ได้รับความทุกข์ อดอยากแสนสาหัส จึงทูลขอที่ดินกลับคืนจากพระนารายณ์

 

ตำนานใน “คัมภีร์พรหมจุติ” ได้กล่าวว่า

พระเจ้าทศราช ซึ่งครองกรุงพาลีอยู่นั้นได้กระทำกรรมเบียดเบียน ริษยา และกล่าวมุสาวาทแก่คนทั้งหลาย เมื่อพระพุทธเจ้าทรงทราบจึงคิดวิธีทำโทษ โดยพระองค์ทรงขอที่ดินจากเจ้ากรุงพาลีเพียง 3 ก้าว เจ้ากรุงพาลีเห็นว่าขอเพียงเล็กน้อยจึงได้ถวายให้ตามที่พระพุทธเจ้าขอ

 

จากนั้นพระพุทธเจ้าจึงประกาศแก่เทพเทวดาให้เป็นพยานว่า เจ้ากรุงพาลีได้ยกที่ดินให้พระองค์แล้วเป็นพื้นที่ 3 ก้าว เมื่อประกาศแล้วพระองค์ก็ทรงก้าวเดินไปด้วยพุทธาภินิหาร เพียงแค่พระองค์ก้าวแค่ 2 ก้าวก็ถึงขอบเขตจักรวาลแล้ว

 

ดังนั้นจึงทำให้เจ้ากรุงพาลีและพระภูมิเจ้าไม่มีที่อยู่ จำเป็นต้องออกไปนอกเขตจักรวาล ทำให้ลำบากและอดอยากในเครื่องเซ่นสังเวยต่าง ๆ เจ้ากรุงพาลีจึงให้พระภูมิเจ้าที่มาทูลขอเครื่องสังเวยและขอที่ดินกลับคืน พระพุทธเจ้าทรงมีพุทธานุญาตแต่มีข้อแม้ว่า ต่อไปนี้ถ้าผู้ใดจะสร้างบ้านเรือนหรือก่อพระเจดีย์ ปลูกต้นพระศรีมหาโพธิ สร้างพระวิหาร ทำสถานที่ปลูกสร้างศาลา ปั้นพระพุทธรูป บวชพระภิกษุ หรือทำการมงคลใด ๆ ก็ให้จัดที่เป็นที่ตั้งศาลพระภูมิ

ฤกษ์มงคลตั้งศาลพระภูมิเจ้าที่

ประชาสัมพันธ์

ข่าวดี ! สำหรับลูกค้าท่านใดที่กำลังสนใจจะสร้างบ้าน บริษัท หรือที่อยู่อาศัยประเภทต่าง ๆ ตอนนี้เรามีแพคเกจสุดคุ้ม

"ปฐมมงคล" รวมแพคเกจลงเสาเอกและทำบุญขึ้นบ้านใหม่ไว้ในราคาเดียว ประหยัดและคุ้มค่าแน่นอน

บทความที่น่าสนใจ

อ่านเพิ่มเติม