phalangsattha

รับทำพิธียกเสาเอก เชียงใหม่

แบบเรียบง่าย ราคาประหยัดและบริการดูฤกษ์มงคลฟรี

 

พลังศรัทธา รับทำพิธียกเสาเอก เชียงใหม่ลำพูน รวมถึงจังหวัดในพื้นที่ใกล้เคียง จัดเตรียมสถานที่และเตรียมของไหว้ ดูฤกษ์มงคลลงเสาเอกบ้านประจำเดือน โดยยึดหลักปฏิบัติตามขนบธรรมเนียมแบบล้านนา มีชุดไม้มงคล 9 อย่าง เพื่อเสริมสิริมงคลเอาฤกษ์เอาชัยก่อนสร้างบ้าน

ดูโปรโมชั่น

ยกเสาเอก คืออะไร

ยกเสาเอกหรือลงเสาเอก คือ การเสริมสิริมงคลเอาฤกษ์เอาชัยก่อนปลูกบ้าน ซึ่งคนไทยส่วนใหญ่มีความเชื่อว่า การจะทำให้การก่อสร้างบ้าน บริษัท หรือที่อยู่อาศัย มีความราบรื่นไม่มีปัญหาและอุปสรรค หากเมื่อได้เข้ามาอยู่ก็จะทำให้อยู่เย็นเป็นสุข และถือว่าเป็นการเสริมสิริมงคลให้ชีวิต

ดังนั้นหากท่านกำลังจะปลูกบ้าน สร้างบ้าน นอกจากการเลือกทำเลที่ตั้ง แบบบ้าน เลือกวัสดุและบริษัทรับสร้างบ้านที่มีคุณภาพแล้ว อย่ามองข้ามเรื่องสร้างสิริมงคลที่ดีร่วมด้วย เมื่อเริ่มต้นดี…อะไรก็ดีตาม การทำพิธีลงเสาเอกจะช่วยส่งผลให้การสร้างบ้านมีความราบรื่น แคล้วคลาดจากอุปสรรค เป็นไปตามที่ปรารถนา เจ้าของบ้านเกิดความรู้สึกสบายใจอีกด้วย

อ่านเพิ่มเติม

ยกเสาเอก เชียงใหม่

เป็นพื้นที่ภาคเหนือ ซึ่งจะประกอบพิธีตามแบบตำราล้านนาล้านนาเป็นส่วนใหญ่ สืบทอดประเพณีดั้งเดิมอันยาวนาน แต่พิธีการลำดับขั้นตอนต่าง ๆ และเครื่องประกอบพิธีนั้นอาจจะแตกต่างกันบ้างเล็กน้อยขึ้นอยู่กับความเชื่อของแต่ละบุคคล

> พลังศรัทธาบริการ

 

เสาเอก เป็นเสาที่มีตำแหน่งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นต้นแรกของบ้านที่จะทำการยกขึ้นเป็นลำดับแรก

ประมวลภาพผลงาน

รีวิวเพิ่มเติม

แพคเกจยกเสาเอก

แพคเกจลงเสาเอกพลังศรัทธา

สำหรับพิธีลงเสาเอก เครื่องสังเวยชุดใหญ่

สอบถามราคา/รายละเอียด
ลงเสาเอก ใช้อะไรบ้าง

บริการดูฤกษ์ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย

สามารถทักไลน์หรืออินบล็อก เพื่อสอบถามแอดมินได้เลย

สอบถามฤกษ์ ดูรีวิวเพิ่มเติม

พิธีถอนสิ่งอัปมงคล

เป็นพิธีกรรมแบบล้านนาที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนาน หากต้องการที่จะรื้อถอนหรือปลูกสร้างใหม่ จะต้องทำพิธีกรรมเพื่อถอนความผูกพันนั้น เช่น วัตถุปลูกสร้างเดิม วัตถุที่นำมาจากผู้อื่น ดินที่นำมาจากหลากหลายที่ เป็นต้น ชาวล้านนาเชื่อกันว่า การสวดถอนด้วยเวทย์มนต์คาถา จะช่วยปัดเป่าความอัปมงคลกับสิ่งนั้นออกไป เพื่อให้เกิดความสบายใจ เสริมสิริมงคล

ดูรูปภาพประกอบ พิธีถอนสิ่งอัปมงคล

เหตุผลที่ต้องเลือกพลังศรัทธา

รีวิวความประทับใจจากลูกค้า

ผู้เตรียมงานจัดการดีมากคะ แนะนำเลย ไปถึงแทบไม่ต้องทำอะไรเลย เค้าเตรียมให้หมดแล้ว สะดวกกับยุคนี้มาเลยค่ะ ปลื้มมากเลยคะ

คุณศิริเพ็ญ

เตรียมงานดำเนินการทุกอย่างดีมากๆเลยค่ะ
สะดวก เหมาะสำหรับคนยุคใหม่ ทั้งพิธีลงเสาเอกและทำบุญขึ้นบ้านใหม่

คุณไพรินทร์

แอดมินตอบคำถามดี พูดจาดีค่ะ ตอบเร็วด้วย แนะนำค่ะ

คุณวิลาวรรณ

รีวิวทั้งหมด

การเตรียมของยกเสาเอก

การจัดเตรียมชุดของมงคล สำหรับประกอบพิธียกเสาเอก เสาโท ได้แก่

  • จัดโต๊ะหมู่บูชา 1 ชุด พร้อมเครื่องสักการะ (ถ้ามี)
  • จตุปัจจัยไทยธรรมถวายพระ 1 ชุด
  • เครื่องบูชาฤกษ์หรือสังเวยเทวดา
  • สายสิญจน์ 1 ม้วนเล็ก
  • ผ้าสามสี ผ้าแพรสีแดง ผ้าห่มเสา ผ้าหัวเสา หรือผ้าขาวม้า 1 ผืน ขนาด 4×6 นิ้ว
  • แผ่นทอง นาก เงิน อย่างละ 1 แผ่น
  • เหรียญทอง เงิน อย่างละ 9 เหรียญ
  • ทองคำเปลว 3 แผ่น
  • หน่อกล้วย อ้อย อย่างละ 1 หน่อ
  • ข้าวตอกดอกไม้ 1 ขัน
  • น้ำมนต์ 1 ขัน
  • กำหญ้าคา 1 กำ
  • ทรายเสก 1 ขัน
  • แป้งหอม
  • ไม้มงคล 9 ชนิด (ประกอบด้วย ไม้ราชพฤกษ์, ไม้ขนุน, ไม้ชัยพฤกษ์, ไม้ทองหลาง, ไม้ไผ่สีสุก, ไม้ทรงบาดาล, ไม้สัก, ไม้พะยูง และไม้กันเกรา)

ขั้นตอนการยกเสาเอก

1. หาฤกษ์ยกเสาเอก หาวันดีวันมงคลประจำเดือน

ตามตำราล้านนาจะนิยมปลูกบ้านกันในเดือนเดือนอ้าย (เดือนแรกของปี) เดือนยี่ (เดือนที่สองของปี) เดือนสี่เดือนหก เดือนเก้า และเดือนสิบสอง ตามการนับเดือนแบบไทยหรือแบบจันทรคติ ส่วนวันที่สามารถดูได้จากฤกษ์มงคลประจำเดือนของพลังศรัทธา แนะนำให้เลือกเป็นวันอธิบดีหรือวันธงชัยของแต่ละเดือน

ฤกษ์มงคลลงเสาเอก

2. การทำพิธีขึ้นท้าวทั้งสี่

เป็นพิธีขออนุญาตเจ้าที่ เจ้าทาง เพื่อขอพื้นที่ในการสร้างบ้านที่อยู่อาศัย ตามความเชื่อที่ว่าท้าวกรุงพาลีเป็นเทพผู้ปกปักรักษาผืนแผ่นดิน จึงทำพิธีขึ้นท้าวทั้งสี่ก่อนจะทำการปลูกบ้านเรือนเสมอ เพื่อความเป็นสิริมงคลของบ้านและผู้อยู่อาศัย

เครื่องเซ่นไหว้ประกอบพิธี ได้แก่ ข้าวสุก กล้วยน้ำว้าสุก ขนมต้มแดง ขนมต้มขาว ข้าวตอก ดอกไม้ ธูปเทียน และหมากพลู ซึ่งหลังจากที่ทำพิธีเสร็จก็อย่าลืมนำถั่วเขียว ข้าวตอก และงาดิบมาโปรยทับลงบนดินด้วย (เครื่องเซ่นไหว้สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม)

Tip! ความเป็นมาของพระภูมิเจ้าที่ที่ควรรู้

3. ตีผังบ้านและปรับระดับดิน

ตีผังบ้าน และปรับระดับดินให้พร้อมเพื่อเตรียมทำพิธี จากนั้นขุดหลุมเสาเอกก่อนเป็นหลุมแรกเพื่อเอาฤกษ์เอาชัย

 

4. ลำดับพิธีการยกเสาเอก

สำหรับการทำพิธียกเสาเอกนั้น บางพื้นที่จะมีพิธีการและขั้นตอนแตกต่างกันขึ้นอยู่กับความเชื่อของแต่ละบุคคล ประกอบด้วยลำดับพิธีต่าง ๆ ดังนี้

  1. วางสายสิญจน์ เริ่มจากโต๊ะบูชาไปโต๊ะสังเวยขวา บริเวณสถานที่ก่อสร้างเข้าสู่เสาเอก (ก่อนเวลาฤกษ์พอสมควร)
  2. จุดเทียนธูปที่โต๊ะหมู่บูชา อธิษฐาน กราบพระเพื่อเกิดสิริมงคลแก่ชีวิต
  3. จุดเทียนธูปที่โต๊ะสังเวย บูชาเทวดาให้คุ้มครอง
  4. กล่าวสังเวยเทวดาบทคำกล่าวสังเวยเทวดา ในการสร้างบ้าน
  5. โปรยชุดไม้มงคล 9 ชนิด ลงในหลุมเสาเอก
  6. วางแผ่นทอง นาก เงินในหลุมเสาเอก
  7. นำใบทอง นาก เงิน และเหรียญทอง เงิน ลงก้นหลุมแล้วนิมนต์พระสงฆ์ประพรมน้ำมนต์ พร้อมโปรยทรายเสกที่หลุมเสา
  8. เจิมและปิดทองเสาเอก
  9. ผูกหน่อกล้วย อ้อย และผ้าสีแดงหรือผ้าขาวม้าที่เสาเอก
  10. ถือด้ายสายสิญจน์ พร้อมทั้งญาติมิตรผู้ร่วมพิธี
  11. ช่วยกันยกเสาเอก จนตั้งเรียบร้อย ขณะยกเสานั้นพระสงฆ์เจริญชัยมงคลคาถา
  12. โปรยข้าวตอกดอกไม้ลงหลุมเสาเอก พร้อมทั้งญาติมิตรผู้ร่วมพิธีเสร็จพิธี (อาจต้องดูความเหมาะสมของพื้นที่ร่วมด้วย)
  13. เมื่อธูปที่โต๊ะสังเวยไหม้หมดดอก ให้ลาเครื่องสังเวยได้ว่า “เสสัง มังคะลัง ยาจามิ”
  14. หน่อกล้วย อ้อย เมื่อช่างเอาลงจากเสาแล้ว ให้นำไปปลูกไว้ในที่ต้องการ
  • ถ้าทำในเดือนอ้าย ยี่ สาม เสาเอก อยู่ทิศอีสาน
  • ถ้าทำในเดือน 4 – 5 – 6 เสาเอก อยู่ทิศอาคเนย์
  • ถ้าทำในเดือน 7 – 8 – 9 เสาเอก อยู่ทิศหรดี
  • ถ้าทำในเดือน 10 – 11 – 12 เสาเอก อยู่ทิศพายัพ

“ถ้าจัดโต๊ะสังเวยไม่ได้ สามารถจัดเป็นสำรับบูชาพระภูมิเจ้าแบบธรรมดาได้ และสิ่งของไหว้อื่น ๆ เลือกใช้ตามความจำเป็นและตามความเหมาะสม”

กลับสู่สารบัญ

ดูบริการทั้งหมดของเราเพิ่มเติม

ไม้มงคล 9 อย่างลงเสาเอก

ประกอบด้วยไม้อะไรบ้าง และแต่ละชนิดมีความหมายอย่างไร ทำไมถึงเป็นที่นิยมเพื่อนำมาใช้ในการประกอบพิธีลงเสาเอก

1. ไม้ราชพฤกษ์

ราชพฤกษ์ เป็นต้นไม้ประจำชาติไทย มีชื่อเรียกแตกต่างกันออกไปในแต่ละท้องถิ่น ส่วนใหญ่มักจะเรียกว่า คูน เนื่องจากสั้นและจำง่ายกว่า ทางเหนือเรียกว่า ลมแล้ง ส่วนทางภาคใต้เรียกว่า ลักเกลือ หรือลักเคย เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง มีกลีบดอกสีเหลืองขึ้นเป็นช่อ มักจำนำมาใช้ประกอบพีธีสำคัญ เช่น พีธีเสาไม้หลักเมือง เป็นส่วนประกอบในการทำคฑาจอมพล และ ยอดธงชัยเฉลิมพลของกองทหาร ทำพิธีปลูกบ้าน ฯลฯ ซึ่งหมายถึง การมีอำนาจบารมี วาสนาดีสูง เจริญก้าวหน้า ยิ่งใหญ่

2. ไม้ขนุน

ขนุน บักมี่ หรือบ่าหนุน เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ มีความสูงประมาณ 15-30 เมตร มีน้ำยางสีขาวข้นคล้ายน้ำนมไหลจากลำต้นและกิ่ง เมื่อมีบาดแผล เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ แผ่นใบรูปรี ซึ่งหมายถึงการมีคนคอยให้ความเกื้อหนุน ช่วยเหลือ ให้ทำสิ่งใดก็สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี

 

3. ไม้ชัยพฤกษ์

ชัยพฤกษ์เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ถั่ว ออกดอกเป็นสีชมพูเข้มสวยงาม จะไม่ทิ้งใบเมื่อออกดอก ออกผลเป็นฝักลักษณะเกลี้ยง สามารถใช้ทำยาได้ มีถิ่นกำเนิดในอินโดนีเซียและประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นไม้มงคล ความหมายตามชื่อเป็นสัญลักษณ์แห่งชัยชนะ โชคแห่งความสำเร็จ ช่อชัยพฤกษ์นิยมนำมาประดับเพื่อเป็นมงคล เช่น บนอินทรธนูข้าราชการ และประดับประกอบดาวบนอินทรธนูและหมวกของทหารและตำรวจทั้งหลาย เป็นต้นไม้ประจำจังหวัดชัยนาท

4. ไม้ทองหลาง

ทองหลางลาย หรือ ปาริชาติ เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ มีความสูงประมาณ 5 ถึง 10 เมตร ออกดอกเป็นช่อสีแดงเข้ม กิ่งอ่อนมีหนาม ผลเป็นฝัก มักกระจายพันธุ์ในเอเชียทั้งเขตร้อนและเขตอบอุ่น เติบโตได้ในทุกสภาพดิน ชอบดินร่วนซุย กลางแจ้ง ซึ่งมีความหมายในการช่วยเรื่องเงินทอง มีชีวิตที่สมบูรณ์พูนสุข

 

5. ไม้ไผ่สีสุก

ไผ่สีสุกเป็นไม้มงคลนาม มีลักษณะของลำต้นกลวงขึ้นเป็นกอหนาแน่นมาก มีความสูงตั้งแต่ 20-25 เมตร ในสมัยก่อนมักนิยมปลูกไว้เป็นรั้ว หน่อไม้สามารถรับประทานได้ สื่อความหมายถึง การมีความสุข ความเจริญ สุขกายสบายใจร่มเย็นแก่คนในบ้าน

6. ไม้ทรงบาดาล

หรือที่เรียกกันว่า ขี้เหล็กหวาน เป็นไม้พุ่ม มีใบลักษณะคล้ายแบบขนนก เรียงสลับ ใบย่อย 4 – 6 คู่ ปลายใบแหลม โคนใบมน มีดอกสีเหลืองออกตามซอกใบ และปลายกิ่ง ซึ่งหมายถึงมีความแข็งแรง มั่นคง ไม่ย่อท้อต่อปัญหาและอุปสรรค

 

7. ไม้สัก

เป็นไม้ต้นขนาดใหญ่ เป็นพุ่มทรงกลมค่อนข้างทึบ ผลัดใบในฤดูร้อน เปลือกสีเทา ขึ้นเป็นหมู่ในป่าเบญจพรรณ สื่อความหมายถึงการมียศ ศักดิ์ศรี มีผู้คนยกย่องนับถือ ให้เกียรติ

 

8. ไม้พะยูง

ขะยุง, พยุง, แดงจีน หรือ ประดู่เสน เป็นต้นไม้เนื้อแข็ง มีเนื้อไม้ที่ลวดลายสวยงาม เป็นไม้เศรษฐกิจที่มีราคาสูง เนื่องจากมีความเชื่อว่าเป็นไม้มงคล มีความหมายถึงการช่วยพยุงค้ำจุนให้ผู้อยู่อาศัยมีฐานะที่ดี

 

9. ไม้กันเกรา

กันเกรา, มันปลา หรือ ตำเสา เป็นต้นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงใหญ่ จะออกดอกเป็นช่อสีเหลือง มีกลิ่นหอม มักนิยมนำมาใช้ประกอบพิธีกรรมก่อสร้างบ้านเรือนให้เป็นสิริมงคล นอกจากนั่นยังนำมาบูชาพระโดยเฉพาะเมื่อเวลางานบุญบวชนาคช่วงเดือนพฤษภาคมหรือเดือน 6 ของทุกปีในภาคอีสาน สื่อความหมายถึงการป้องกันปัญหา อุปสรรคต่าง ๆ และเสริมความมั่นคงให้กับครอบครัว

โปรโมชั่นต้านโควิด

ค้นหาแพคเกจที่เหมาะกับคุณ และส่วนลดพิเศษในราคาที่ถูกใจ คุ้มค่า ประหยัด แต่คงความสวยงามและพิธีกรรมถูกต้อง

สอบถามโปรโมชั่น

ฤกษ์ยกเสาเอก

มกราคม


วันพระ : 6, 14, 21 และ 29
ฤกษ์มงคล : 1, 2, 8, 9, 10, 14, 15, 16, 17, 19, 26, 27, 28 และ 31
วันหัวเข้า : 4, 11, 18, 24, 25 และ 31
วันหัวออก : 5, 12 และ 19

 

กุมภาพันธ์


วันพระ : 5, 13, 19 และ 27
ฤกษ์มงคล : 3, 4, 6, 8, 9, 14, 15, 17, 18, 23, 25, 26 และ 27
วันหัวเข้า : 7, 14, 20 และ 27
วันหัวออก : 1, 8, 15, 21 และ 28

มีนาคม


วันพระ : 6 (วันมาฆบูชา), 14, 21 และ 29
ฤกษ์มงคล : 1, 4, 6, 8, 9, 11, 13, 15, 16, 17, 18, 24, 26, 28, 29 และ 31
วันหัวเข้า : 6, 13, 20 และ 26
วันหัวออก : 7, 14, 21 และ 27

เมษายน


วันพระ : 5, 13, 19 และ 27
ฤกษ์มงคล : 2, 4, 7, 11, 12, 13, 16, 17, 18 ,19, 23, 25 และ 27
วันหัวเข้า : 2, 9 และ 16
วันหัวออก : 3, 10 และ 17

พฤษภาคม


วันพระ : 4, 12, 19 และ 27
ฤกษ์มงคล : 2, 4, 6, 7, 11, 13, 14, 15, 16, 22, 24, 26, 27 และ 31
วันหัวเข้า : 4, 11, 18, 24 และ 31
วันหัวออก : 5, 12, 19 และ 25

 

มิถุนายน


วันพระ : 3 (วันวิสาขบูชา), 11, 17 และ 25
ฤกษ์มงคล : 2, 9 ,11, 13, 14, 19, 21, 23, 24, 25, 28 และ 30
วันหัวเข้า : 7, 14 และ 20
วันหัวออก : 8, 15, 21 และ 28

ปฏิทินล้านนาฉบับวัดธาตุคำเป็นแบบเดิมของล้านนา

กรกฎาคม


วันพระ : 2, 10, 17 และ 25
ฤกษ์มงคล : 2, 3, 6, 7, 9, 11, 12, 14, 16, 19, 20, 22, 23, 27, 29 และ 31
วันหัวเข้า : 4, 11, 18 และ 25
วันหัวออก : 5, 12, 19 และ 26

 

สิงหาคม


วันพระ : 1 (วันอาสาฬหบูชา), 9, 16, 24 และ 31
ฤกษ์มงคล : 1, 5, 7, 9, 10, 11, 14, 16, 18, 20, 21, 23, 25, 27, 29, และ 30
วันหัวเข้า : 1, 8, 15, 22 และ 28
วันหัวออก : 2 (วันเข้าพรรษา), 9, 16, 22 และ 29

กันยายน


วันพระ : 8, 14, 22 และ 29
ฤกษ์มงคล : 1, 3, 5, 6, 8, 12, 15, 17, 18, 21, 24, 26 และ 27
วันหัวเข้า : 4 ,11, 17 และ 24
วันหัวออก : 5, 12, 18 และ 25

ตุลาคม


วันพระ : 7, 14, 22 และ 29 (วันออกพรรษา)
ฤกษ์มงคล : 1, 2, 3, 5, 9, 10, 12, 14, 17, 18, 20, 21, 25 และ 26
วันหัวเข้า : 1, 8, 21 และ 28
วันหัวออก : 2, 9, 15 และ 29

พฤศจิกายน


วันพระ : 6, 12, 20 และ 27 (วันลอยกระทง)
ฤกษ์มงคล : 1, 2, 3, 4, 7, 8, 10, 11, 12, 13, 16, 18, 20, 21, 22, 23, 25, 27 และ 29
วันหัวเข้า : 4, 11, 17 และ 24
วันหัวออก : 5 ,12, 18 และ 25

ธันวาคม


คลิก : ดูฤกษ์เดือนธันวาคม 2566

ประชาสัมพันธ์

ข่าวดี ! สำหรับลูกค้าท่านใดที่กำลังสนใจจะสร้างบ้าน บริษัท หรือที่อยู่อาศัยประเภทต่าง ๆ ตอนนี้เรามีแพคเกจสุดคุ้ม

"ปฐมมงคล" รวมแพคเกจลงเสาเอกและทำบุญขึ้นบ้านใหม่ไว้ในราคาเดียว ประหยัดและคุ้มค่าแน่นอน

บทความที่น่าสนใจ

อ่านเพิ่มเติม