phalangsattha

รับทำพิธีสะเดาะเคราะห์ สืบชะตา ต่ออายุ

ประเพณีเก่าแก่แห่งดินแดนล้านนา

พลังศรัทธา รับทำพิธีสะเดาะเคราะห์ สืบชะตา ต่ออายุ เชียงใหม่และพื้นที่ใกล้เคียง

พร้อมจัดเตรียมเครื่องสืบชะตา ซุ้มสืบชะตาสวยงาม ราคาประหยัด และทำพิธีถูกต้องตามหลักธรรมเนียมแบบล้านนา

*หากต้องการเช่าอุปกรณ์ติดต่อสอบถามได้เลยครับ

ดูโปรโมชั่น

พิธีสืบชะตา คือ

พิธีสืบชะตา คือ การทำบุญเจริญพระพุทธมนต์สามารถทำพิธีได้ทั้งบ้าน เมือง วัดหรือตัวบุคคล มีความเชื่อว่าทำแล้วจะเกิดสิริมงคลแก่ตนเองและสถานที่ที่สืบชะตา สะเดาะเคราะห์ทำให้อยู่เย็นเป็นสุข จากร้ายกลายเป็นดี ปราศจากโรคภัยทั้งหลาย ทำให้มีความเจริญรุ่งเรืองอายุยืนยาวสืบไป

พิธีสะเดาะเคราะห์ สืบชะตา ต่ออายุ ถือว่าเป็นประเพณีมงคลสำคัญของชาวล้านนา ซึ่งจะนิยมทำพิธีเนื่องในวันเกิด วันขึ้นบ้านใหม่ วันได้รับยศเลื่อนตำแหน่ง การย้ายที่อยู่ใหม่ ในวันปากปี ปากเดือน ปากวัน (ของประเพณีปีใหม่สงกรานต์ได้แก่วันที่ 16 , 17 , 18 เมษายน) หรือเมื่อมีหมอดูทายทักว่า ช่วงนี้ดวงตกชะตาขาดแนะนำให้ไปทำพิธีสะเดาะเคราะห์และสืบชะตา เชื่อว่าจะทำให้เกิดความสบายกายจิตใจสงบ คลาดแคล้วจากปัญหาอุปสรรค เสริมสร้างขวัญกำลังใจ

อ่านเพิ่มเติม

ภาพผลงานพิธีสะเดาะเคราะห์ สืบชะตา ต่ออายุ

รีวิวเพิ่มเติม

แพคเกจพิธีสะเดาะเคราะห์ สืบชะตา ต่ออายุ

หากต้องการนิมนต์พระเพิ่มหรือต้องการปรับเปลี่ยนชุดสังฆทาน สามารถสอบถามแอดมินได้เลยครับ

  • นิมนต์พระ
  • ชุดโต๊ะหมู่บูชาและพระประธาน
  • ชุดอาสนะพระภิกษุสงฆ์
  • เครื่องใช้และอุปกรณ์พิธีสงฆ์
  • พระสงฆ์ 5 รูปและผู้ดำเนินพิธีการ
  • ดอกไม้ ธูปเทียน สายสิญจน์
  • ชุดสังฆทาน
  • เครื่องสืบชะตาล้านนา
  • สถานที่ที่บริษัทกำหนด
12,900.-
  • ดูฤกษ์ทำบุญบ้าน
  • นิมนต์พระ พร้อมบริการรับ-ส่ง
  • พระสงฆ์ 5 รูปและผู้ดำเนินพิธีการ
  • ชุดโต๊ะหมู่บูชาและพระประธาน
  • อุปกรณ์ตกแต่งโต๊ะหมู่บูชา
  • เครื่องใช้และอุปกรณ์พิธีสงฆ์
  • ชุดกรวดน้ำ
  • ดอกไม้ ธูปเทียน สายสิญจน์
  • พรมปูนั่งสำหรับพระ
  • ชุดสังฆทาน
  • เครื่องสังเวยท้าวทั้งสี่ 
  • เครื่องถอนแบบล้านนา 
  • เครื่องสืบชะตาล้านนา 
ดูรายละเอียดแพคเกจทำบุญบ้าน
  • นิมนต์พระ
  • ชุดโต๊ะหมู่บูชาและพระประธาน
  • ชุดอาสนะพระภิกษุสงฆ์
  • เครื่องใช้และอุปกรณ์พิธีสงฆ์
  • พระสงฆ์ 5 รูปและผู้ดำเนินพิธีการ
  • ดอกไม้ ธูปเทียน สายสิญจน์
  • ชุดสังฆทาน
  • เครื่องสืบชะตาล้านนา
  • พิธีเรียกขวัญ
  • บายศรีสู่ขวัญ
  • สถานที่บริษัทกำหนด
15,900.-

เช่าเครื่องสืบชะตา

สอบถามราคา

สะตวงสืบชะตา, สะตวงท้าวทั้ง 4, ขันตั้ง, ไม้ค้ำ 3 เล่ม, ช่อ ตุง แต๊ะ, หม้อเงินหม้อทอง, หม้อน้ำ น้ำต้น, บันไดเงินบันไดทอง, หน่อกล้วยหน่ออ้อย, มะพร้าว, กล้วย, ข้าวสาร ข้าวเปลือก, เสื่อ, หมอน, ด้ายสายสิญจน์

*สามารถปรับเปลี่ยนรายการได้ตามความเหมาะสม*

สืบชะตา

บริการดูฤกษ์ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย

สามารถทักไลน์หรืออินบล็อก เพื่อสอบถามแอดมินได้เลย

สอบถามฤกษ์ ดูรีวิวเพิ่มเติม

เหตุผลที่ต้องเลือกพลังศรัทธา

ความประทับใจจากลูกค้า

ออกแบบงานดีมากๆ ไม่เกินงบ งานออกมาดีและตรงตามความต้องการ เนื่องจากผมมีงบทำบุญขึ้นบ้านใหม่ค่อนข้างจะจำกัด ร้านให้คำแนะนำและให้ปรึกษาดีๆ ขอบคุณทางร้านมากๆนะครับ

คุณมนตรี

พ่อกับแม่ แขกในงานชมไม่ขาดปากว่าสวย  ซึ่งพิธีทำบุญขึ้นบ้านใหม่ การสืบชะตาถือว่าเป็นจุดสำคัญของงาน ใช้เวลาจัดเตรียมนาน และยุ่งยากสำหรับคนยุคใหม่นี้ ทางทีมงานช่วยให้ประหยัดเวลาไปได้มาก อุปกรณ์พิธีตามทางล้านนาครบถ้วน จัดงานครั้งเดียวก็อยากมีภาพสวยๆ ไม่ต้องมีเรื่องให้คิดหรือกังวลอะไรเกี่ยวกับพิธี ไม่ผิดหวังจริงๆค่ะ

คุณพรพิมล

ช้บริการที่นี้เป็นครั้งที่ 2 เเล้วครับ ครั้งเเรกทำพิธีลงเสาเอก ครั้งนี้เลยกลับมาใช้บริการอีกครั้งประทับใจมากกว่าเดิม การจัดงานทำบุญขึ้นบ้านใหม่แบบล้านนาพร้อมพิธีสืบชะตา จัดงานได้ดีมาก งานสวย ใส่ใจรายละเอียด พนักงานสุภาพเรียบร้อย แอดมินก็ให้คำปรึกษาดีมาก ออกแบบงานให้ตามงบประมาณเลยครับ คิดถูกที่เลือกที่นี้ไม่ผิดหวังจริงๆ ครับ

คุณณัฐพล

รีวิวทั้งหมด

ตำนานสืบชะตาในพระพุทธศาสนา

ในคัมภีร์สืบชะตากล่าวว่า มีสามเณรองค์หนึ่งชื่อ ติสสะ อายุ 7 ปี มาบวชเพื่อศึกษาเล่าเรียนกับพระสารีบุตรเถระเป็นระยะเวลาหนึ่ง มีอยู่วันหนึ่งพระสารีบุตรได้เรียกสามเณรติสสะ แล้วพูดว่า “ดูตามตำราหมอดูและตำราลักษณะทายว่า เธอจะมีชีวิตอยู่ได้ไม่เกิน 7 วัน ดังนั้นเธอควรกลับไปล่ำลา พ่อ แม่และญาติเสีย” พอสามเณรติสสะได้ยิน จึงเกิดความเศร้าโสกเสียใจและร้องไห้อย่างน่าสงสาร แต่ก็ได้กราบนมัสการอาจารย์แล้วเดินทางกลับบ้านด้วยใบหน้าอันหม่นหมอง

ซึ่งระหว่างที่เดินทางเพื่อไปลาโยมพ่อ โยมแม่ สามเณรได้พบปลาในสระน้ำที่กำลังแห้งขอด ปลาน้อยดิ้นทุรนทุรายเพราะน้ำในสระไม่เพียงพอ สามเณรจึงนึกรำพันว่า “เรากำลังจะตายภายใน 7 วัน แต่ปลานี้หากไม่มีน้ำจะตายในวันนี้แล้ว แม้เราใกล้จะตายก็ควรโปรดสัตว์เหล่านี้ให้พ้นจากความตายเถิด” จากนั้นสามเณรจึงช้อนปลาขึ้นมาใส่บาตรของตน แล้วนำไปปล่อยที่แม่น้ำใหญ่

ศึกษาเพิ่มเติม : คัมภีร์สืบชะตา

พอเดินทางมาได้อีกสักระยะหนึ่งก็พบกับอีเก้งถูกมัดไว้ ซึ่งน่าจะเป็นฝีมือของนายพราน สามเณรติสสะจึงได้ปล่อยเก้งให้พ้นจากความตาย เมื่อสามเณรเดินทางไปถึงบ้าน บอกเรื่องที่ตนจะตายแก่บิดามารดาและญาติพี่น้อง ทุกคนก็ร่ำไห้เสียใจ สงสารเณรน้อยยิ่งนัก

 

“ติสสะ สามเณรผู้รู้วันละสังขาร”

 

จนเวลาล่วงเลยเกิน 7 วันตามที่ตำราได้กล่าวไว้ สามเณรก็ยังคงมีชีวิตอยู่ และกลับมีผิวพรรณผ่องใสขึ้นกว่าเดิม สามเณรจึงเดินทางกลับไปหาพระมหาสารีบุตรเถระ เมื่อไปถึงพระสารีบุตรเกิดความประหลาดใจ และได้ทำลายตำรานั้นทิ้ง สามเณรติสสะ จึงเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นระหว่างการเดินทางกลับไปลาพ่อแม่ ทั้งเรื่องการช่วยนำปลาไปปล่อยน้ำ และปลดปล่อยอีเก้งจากแร้วของนายพรานเพื่อยืดสัตว์ทั้งหลาย เชื่อว่าการกระทำเหล่านี้ส่งพลังผลบุญให้พ้นจากความตาย

 

พระสารีบุตร คือ ผู้เป็นอัครสาวกเบื้องขวาของพระพุทธเจ้า และได้รับการยกย่องว่าเป็นเลิศกว่าพระภิกษุทั้งปวงในด้านสติปัญญา

เครื่องสืบชะตาล้านนา

เครื่องสืบชะตา
เครื่องสืบชะตามีอะไรบ้าง

การแต่งตกดา ดาครัว หรือการเตรียมเครื่องสืบชะตา อาจมีการปรับเปลี่ยนตามยุคตามสมัยและเตรียมตามความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่ แต่ต้องคำนึงถึงความถูกต้องตามธรรมเนียมประเพณี

• ไม้ค้ำโพธิ์ 3 เล่ม
• ไม้ค้ำโพธิ์สั้นจำนวนเท่าอายุหรือ 108 อัน นำมามัดรวมกัน
• ช่อ (ธงเล็ก) 108 อัน
• ไม้ขัว (ไม้สะพาน) 2 อัน สลักติดกัน 1 คู่
• กระบอกน้ำกระบอกทราย ผูกติดกัน 1 คู่
• กระบอกข้าวเปลือก กระบอกข้าวสารผูกติดกัน 1 คู่
• เส้นลวดเงิน ลวดคำ ลวดหมาก ลวดพลู ลวดเบี้ย ลวดข้าวตอกดอกไม้
• เทียนค่าคิง สีสายค่าคิง ธงค่าคิง ผูกติดไม้ก้านยาว

แล้วนำมารวมกันตั้งตรงบริเวณที่จะทำพิธี ทำเป็นสามสุม 3 กระบอกพิงกัน สำหรับเจ้าชะตาเข้า เพื่อเป็นซุ้มให้นั่งในเครื่องบูชาสามสุมนั้น

• ต้นกล้วย 1 ต้น
• กล้วยดิบ 1 เครือ
• สะตวง

ดูรายละเอียดลักษณะของ >> สะตวงสืบชะตา 

• เสื่อ 1 ผืน
• หมอน 1 ใบ
• หม้อใหม่ 2 ใบ (หม้อเงิน หม้อทอง)
• มะพร้าว 1 ทะลาย
• เทียนเล่มบาท 1 เล่ม
• ด้ายสายสิญจน์ล้อมรอบผู้สืบชะตา 1 กลุ่ม
• บาตรน้ำมนต์ 1 ลูก
• พานบายศรีนมแมว 1 (กรณีทำพิธีเล่าขวัญ ฮ้องขวัญร่วมด้วย)

 

ชะตา คือ ลักษณะที่บังเกิดเหตุดีและชั่ว เช่น ชะตาดี ชะตาร้าย หรือรูปราศี

 

วันปากปี๋

วันที่สี่ของประเพณีปีใหม่ ถือเป็นวันแรกของปี วันนี้คนล้านนาจะกินแกงขนุนกันทุกครอบครัว เพราะเชื่อว่าจะหนุนชีวิตให้เจริญก้าวหน้า ช่วงสายๆชาวบ้านจะมารวมตัวกันที่ใจบ้าน เพื่อทำบุญเสาใจบ้าน หรือส่งเคราะห์บ้าน บางแห่งอาจจะต่อด้วยพิธีสืบชะตาหมู่บ้าน และพากันไปขมาคารวะ ดำหัว พระเถระผู้ใหญ่ตามวัดต่าง ๆ ในตอนค่ำของวันนี้จะมีการบูชาเทียน สืบชะตา ลดเคราะห์ รับโชค เพื่อให้เกิดความเป็นมงคลแก่ครอบครัว สนใจบูชาเทียนสืบชะตา

การตั้งโต๊ะหมู่บูชาพระ

            การจัดตั้งโต๊ะหมู่บูชาพระ โดยปกตินิยมจัดตั้งด้านขวามือพระสงฆ์ เพราะถือว่าพระพุทธรูปเป็นองค์ประธานพระสงฆ์ เครื่องประกอบบูชาตั้งโต๊ะ ควรมีแจกัน 1 คู่ เชิงเทียน 1 คู่ และกระถางธูป การจุดเทียนบูชาพระ ให้จุดเล่มขวาพระหัตถ์ (มือขวา) พระพุทธรูปก่อน แล้วจุดเล่มซ้ายพระหัตถ์ พระพุทธรูปทีหลัง แล้วจุดธูปต่อไป ธูปจะนิยมใช้เพียง 3 ดอกเท่านั้น

การจัดอาสนะสงฆ์

            การจัดอาสนะสำหรับพระสงฆ์ เพื่อความเหมาะสมในการนั่งในพิธี ควรจัดให้สูงกว่าพื้นที่นั่งธรรมดา เช่น ยกพื้น ปูผ้า ปูพรม หรือมีเบาะนั่ง (หากเป็นพิธีใหญ่ควรจัดถวายเป็นพิเศษ โดยเฉพาะพระสงฆ์องค์ประธาน)

นิมนต์พระกี่รูป

            การนิมนต์พระสงฆ์ในพิธีมงคล นิยมนิมนต์พระสงฆ์จำนวนคี่ เช่น 5 รูป 7 รูป 9 รูป หรือเกินกว่านั้นก็ได้ ขึ้นอยู่กับควรประสงค์ของเจ้าภาพ 

จำนวนพระสงฆ์ที่ถูกต้อง

ขั้นตั้งสืบชะตาคน

         ประกอบด้วย สวยดอก หมากพลู เบี้ย หมาก ผ้าขาว ผ้าแดง ข้าวเปลือก ข้าวสาร เทียนเล่มบาท เทียนเฟื้อง เทียนน้อย และเงิน

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ พิธีสืบชะตาคนล้านนา

บริการยอดนิยม

ลำดับขั้นตอนการทำพิธี

หลักจากทำการจัดเครื่องสืบชะตา ตั้งโต๊ะหมู่บูชา เตรียมอาสนะสงฆ์ เรียบร้อยแล้ว ทำตามขั้นตอนดังนี้

1. ทำพิธีขึ้นท้าวทั้ง 4 เนื่องจากเป็นงานมงคล จึงต้องเชิญเทวดามารักษางานและมาร่วมอนุโมทนา
2. เมื่อทำพิธีขึ้นท้าวทั้ง 4 เสร็จ ให้เรียนเชิญเจ้าภาพจุด เทียน ธูป บูชา พระรัตนตรัย โดยเริ่มจากจุดเทียนที่อยู่ฝั่งขวามือของพระพุทธรูปแล้วตามด้วนฝั่งซ้าย ตามลำดับ

 

3. ผู้ดำเนินพิธีนำไหว้พระ กล่าวสมาทานศีล
4. จากนั้นนำฝ้ายมงคล สายสิญจน์ เวียนรอบศีรษะเจ้าภาพ (หากจำนวนเจ้าภาพมีหลายคนให้เปลี่ยนเป็นการถือฝ้ายมงคลแทน)
5. สวดมนต์บทอาราธนาพระปริตร จุดเทียนค่าคิง จุดเทียนเล็ก
6. ถ้าพระสวดถึง “อเสวนา” นำเทียนจากบาตรน้ำมนต์มาให้เจ้าภาพจุด

 

7. แล้วผู้ดำเนินพิธีจะนำเทียนน้ำมนต์ไปไว้ในบาตร พร้อมประเคนบาตร
8. พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์เสร็จ ต่อด้วยเทศน์สลากริวิชาสูตรให้อาราธนาธรรม (ถ้ามี)
9. เมื่อพระสงฆ์ทำพิธีเสร็จ ท่านจะผูกฝ้ายมงคลที่ข้อมือให้เจ้าภาพ

 

10. เริ่มสมาครัวทาน และโอกาสเวนทาน ถวายทาน เชิญเจ้าภาพเข้าประเคน (บางพื้นที่อาจไม่มีขั้นตอนนี้)
11. กล่าวคำอธิษฐาน (อิทัง ทานกัมมัง) คำหยาดน้ำ ยังกัญจิ พุทโธมังคละ วันทา และกล่าวคำลาพระ เป็นอันเสร็จพิธี

พิธีสะเดาะเคราะห์ ภาคเหนือ
“ลำดับพิธีการและเครื่องสืบชะตา อาจมีการปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสมและความเชื่อของแต่ละบุคคล”

การสืบชะตาบ้าน สืบชะตาเมือง

สืบชะตาบ้าน ชาวล้านนาเชื่อว่าเมื่อชุมชนพบกับความเดือดร้อน การเจ็บป่วยอย่างไม่ปกติ หรือมีคนตายติด ๆ กัน ในเวลาไล่เลี่ยมากกว่า 3 คนขึ้นไป ถือว่าเป็นเหตุอุบาทว์ได้มาสู่บ้านเมือง “ขัดบ้าน ขัดเรือน” ชาวบ้านจะช่วยกันทำพิธีสะเดาะเคราะห์ ปัดเป่าสิ่งชั่วร้ายสิ่งไม่ดีออกจากบ้าน นั้นคือการทำพิธีสะเดาะเคราะห์ สืบชะตาบ้าน นอกจากการทำพิธีสืบชะตาบ้าน ทำให้เกิดความรักความสามัคคีกันในชุมชนอีกด้วย นอกจากพิธีสืบชะตาคน พิธีชะตาบ้านชะตาเมือง ยังสามารถทำพิธีเพื่อสืบชะตาแม่น้ำ เพื่อเป็นการขอขมาแม่น้ำคงคา

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ พิธีสืบชะตาแม่น้ำ


 

หอเสื้อบ้าน

“เสื้อ” ตามพจนานุกรม มีความหมายว่า เครื่องนุ่งห่มที่ใช้สวมใส่ เพื่อป้องกันร่างกายจากความหนาวและความร้อน “เสื้อบ้าน” จึงเปรียบดั่งเป็นเสื้อปกป้องบ้าน ชุมชนไว้ เพื่อให้คนที่อาศัยอยู่เย็นเป็นสุข ไม่มีความเดือดร้อน ตามความเชื่อ หมู่บ้านทุกหมู่บ้านจะมีศาลเสื้อบ้านตั้งอยู่กลางบ้าน ใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรม ที่มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์เทพารักษ์สถิตอยู่
เมื่อทำพิธีสืบชะตาบ้าน ชาวบ้านจะตกแต่งศาลด้วยต้นกล้วย ต้นอ้อย และต้นข่า เพื่อนำมาปักรอบ ๆ จากนั้นโยงด้ายสายสิญจน์ตั้งแต่หอเสื้อบ้านไปยังบ้านทุกหลังในชุมชนแล้วจึงเริ่มประกอบพิธี

 

พิธีสืบชะตา มักจะนิยมทำร่วมกับการทำบุญขึ้นบ้านใหม่ เพื่อเป็นสิริมงคลและปัดเป่าสิ่งไม่ได้ ก่อนที่จะเข้าอยู่อาศัย ศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ขั้นตอนการทำบุญขึ้นบ้านใหม่แบบล้านนา

 

ขั้นตั้งสืบชะตาบ้าน

ประกอบด้วย สวยดอก หมากพลู เบี้ย หมาก ผ้าขาววา ผ้าแดงวา ข้าวเปลือก ข้าวสาร เทียนเล่มบาท เทียนเฟื้อง เทียนน้อย เงิน กล้วย และมะพร้าว

 

“ประเพณีสืบชะตา หรือ ป๋าเวณีสืบชะตา ไม่มีการกำหนดเฉพาะช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง สามารถทำได้ตามฤกษ์วันดี”

 

การสืบชะตาเมือง 

การสืบชะตาเมือง มีหลักฐานปรากฎตั้งแต่สมัยพระเจ้าสามฝั่งแกน กษัตริย์ล้านนาในราชวงศ์มังราย ลำดับที่ 8 และเป็นลำดับที่ 32 แห่งราชวงศ์ลวจังกราช เชื่อกันว่าบ้านเมืองนั้นจะต้องมีเจ้าที่ เทพารักษ์ปกปักรักษาคุ้มครองอยู่ ที่เรียกว่า พระเสื้อเมือง พระทรงเมือง พระหลักเมือง การสืบชะตาเมืองจึงเป็นพิธีที่แสดงออกถึงความเคารพกตัญญูต่อผู้พิทักษ์รักษาบ้านเมืองให้อยู่ดีมีสุข ชาวเมืองปลอดภัย แต่หากมีเหตุการณ์ไม่คาดฝันหรือมีสถานการณ์ผิดปกติในบ้านเมือง ก่อให้เกิดความเดือดร้อนต่าง ๆ ก็จะทำการจัดพิธีสืบชะตาเมืองด้วยเช่นกัน

 

ราชวงศ์มังราย เป็นราชวงศ์ที่ปกครองอาณาจักรล้านนา เป็นเวลายาวนานกว่า 260 ปี ตั้งแต่รัชสมัยพญามังรายจนถึงพระเจ้าเมกุฎิสุทธิวงศ์ (ท้าวแม่กุ)

 

ขั้นตั้งสืบชะตาเมือง 

ประกอบด้วย สวยดอก หมากพลู เบี้ย หมาก ผ้าขาววา ผ้าแดงวา ข้าวเปลือก ข้าวสาร เทียนเล่มบาท เทียนเฟื้อง เทียนน้อย เงิน กล้วย อ้อย มะพร้าว เสื่อ หมอน น้ำต้น หม้อน้ำ ขันน้ำ

 

โปรโมชั่นต้านโควิด

ค้นหาแพคเกจที่เหมาะกับคุณ และส่วนลดพิเศษในราคาที่ถูกใจ คุ้มค่า ประหยัด แต่คงความสวยงามและพิธีกรรมถูกต้อง

สอบถามโปรโมชั่น

บทสวดสืบชะตาเหนือ

บทสวดที่ใช้ในพิธีสืบชะตา คือ บทสวดเทวชาตา (บทสวดอินต๊ะชาตา), บทสวดอุณหิสสะวิชัย และบทสวดสักกัตฺวา

บทสวดเทวชาตา (บทสวดอินต๊ะชาตา)


อินทะชาตา เทวะชาตา พรัหมะชาตา มหาพรัหมะชาตา อิสีชาตา
มหาอิสีชาตา มุนีชาตา มหามุนีชาตา ปุริสะชาตา มหาปุริสะชาตา
จักกะวัตติชาตา มหาจักกะวัตติชาตา พุทธชาตา ปัจเจกพุทธชาตา
อรหันตาชาตา สัพพะสิทธิวิชชา ธะราณังชาตา สัพพะโ่ลกาจะริยานังชาตา
สัพพะโลกา ธิปะติญาณังชาตา เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ ตุยหัง สุวัตถิ โหตุ
ตุยหัง สวาหายะ ฯ

บทสวดอุณหิสสะวิชัย


อัตถิ อุณหิสสะ วิชะโย ธัมโม โลเก อะนุตตะโร
สัพพะสัตตะหิตัตถายะ ตัง ตะวัง คัณหิ เทวะเต
ปะริวัชเช ราชะทัณเฑ อะมะนุสเสหิ ปาวะเก
พะยัคเฆ นาเค วิเสภูเต อะกาละมะระเณนะ วา
สัพพัสมา มะระณา มุตโต ฐะเปตตะวา กาละมาริตัง
ตัสเสวะ อานุภาเวนะ โหตุ เทโว สุขี สะทา
สุทธะสีลัง สะมาทายะ ธัมมัง สุจะริตัง จะเร
ตัสเสวะ อานุภาเวนะ โหตุ เทโว สุขี สะทา
ลิกขิตัง จินติตัง ปูชัง ธาระณัง วาจะนัง คะรุง
ปะเรสัง เทสะนัง สุตตะวา ตัสสะ อายุ ปะวัฑฒะตีติ

บทสวดสักกัตฺวา


สักกัตวา พุทธะรัตตะนัง โอสะถัง อุตตะมัง
วะรัง หิตัง เทวะมะนุสสานัง พุทธะเตเชนะ
โสตถินา นัสสันตุ ปัททะวา สัพเพ ทุกขา วูปะสะเมนตุ เมฯ

สักกัตวา ธัมมะรัตตะนัง โอสะถัง อุตตะมัง
วะรัง ปะริฬาหูปะสะมะนัง ธัมมะเตเชนะ โสตถินา
นัสสันตุ ปัททะวา สัพเพ ภะยา วูปะสะเมนตุ เมฯ

สักกัตวา สังฆะรัตตะนัง โอสะถัง อุตตะมัง
วะรัง อาหุเนยยัง ปาหุเนยยัง สังฆะเตเชนะ
โสตถินา นัสสันตุ ปัททะวา สัพเพ โรคา
วูปะสะเมนตุ เมฯ

นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง พุทโธ เม สะระณัง วะรัง
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โหตุ เต ชะยะมังคะลัง
นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง ธัมโม เม สะระณัง วะรัง
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โหตุ เต ชะยะมังคะลัง

นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง สังโฆ เม สะระณังวะรัง เอเตนะ
สัจจะวัชเชนะ โหตุ เต ชะยะมังคะลัง ฯ

ยังกิญจิ ระตะนัง โลเก
วิชชะติ วิวิธัง ปุถุ ระตะนัง
พุทธะสะมัง ยีตถิ ตัสมา โสตถี ภะวันตุ เต ฯ

ยังกิญจิ ระตะนัง โลเก
วิขขะติ วิวิธัง ปุถุ ระตะนัง
สังฆะสะมัง นัตถิ ตัสมา โสตถี ภะวันตะ เต ฯ

บทความที่น่าสนใจ

อ่านเพิ่มเติม